เมื่อประสบปัญหาทางการเงิน ไม่ว่าจะต้องการเงินไปลงทุน ไปชำระหนี้หรือใช้จ่ายอื่น ๆ หลายคนมักมองหาวิธีอย่างการกู้เงิน การขายฝากที่ดิน และจำนองที่ดิน แต่ก็อาจเกิดความสับสนระหว่างขายฝากและจำนอง

เนื่องจากสัญญาทั้งสองแบบมีความคล้ายคลึงกัน คือ การนำทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ ไปแลกเป็นเงินก้อน

ในบทความนี้น่าอยู่จึงจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกันว่าขายฝากแตกต่างจากจำนองอย่างไร ? เพื่อจะได้ไม่เกิดความสับสนและเลือกทำสัญญาได้ถูกต้องเหมาะสมกับตัวเอง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ

ทำความรู้จักการขายฝากกับการจำนอง

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนเลยครับว่าการขายและการจำนองคืออะไร มีความหมายตรงกับที่เราเข้าใจอยู่หรือเปล่า

ขายฝากคืออะไร

ขายฝาก คืออะไร

การขายฝาก คือ การที่ผู้ขายฝากนำทรัพย์สินของตัวเองขายให้กับผู้ซื้อฝาก โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีเมื่อมีการทำสัญญา แต่ระหว่างนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ขายฝากนำเงินมาไถ่ถอนคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

โดยผู้ซื้อฝากจะได้รับได้ดอกเบี้ยในแต่ละเดือนและได้รับเงินต้นคืนเมื่อถึงเวลาไถ่ถอน  แต่หากผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ถอนคืนตามระยะเวลาที่กำหนด กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ขายฝากทั้งหมด จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากอย่างเด็ดขาดทันที

สำหรับใครอยากทำความรู้จักการขายฝากที่ดินแบบละเอียด สามารถตามไปอ่านกันได้ที่ มาทำความรู้จักการขายฝากที่ดินกันดีกว่า กันได้เลยครับ

จำนองคืออะไร

จำนอง คืออะไร

การจำนอง คือ การนำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนื้ แต่ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองให้กับผู้รับจำนอง และยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนองอยู่

แต่ถ้ามีการผิดชำระหนี้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ฟ้องร้องบังคับชำระหนี้พร้อมดำเนินคดียึดทรัพย์สินได้ตามกฎหมาย และผู้จำนองยังต้องชำระหนี้เพิ่มเติมให้กับผู้รับจำนองจนกว่าจะครบถ้วน แม้จะถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินที่จำนองแล้วก็ตาม

จะเห็นได้ว่าสัญญาทั้งสองมีความแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการนำอสังหาริมทรัพย์ไปขายฝากหรือจำนองต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น หากไม่ได้ไปทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินจะถือว่าทุกอย่างเป็นโมฆะ

เงื่อนไขของการขายฝากและการจำนอง

เงื่อนไขของการขายฝากและการจำนอง

หลังจากเราทำความเข้าใจไปแล้วว่าการขายฝากและการจำนองคืออะไร ต่อไปจะเป็นเงื่อนไขของการขายฝากและการจำนอง ซึ่งน่าอยู่ได้สรุปเงื่อนไขของการขายฝากและการจำนองที่ดินที่ทุกคนควรรู้มาให้แล้วครับ

เงื่อนไขของการขายฝาก

เงื่อนไขของการขายฝากที่เราควรรู้ก่อนทำสัญญาขายฝาก เพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบหรือถูกหลอก มีดังนี้

  • การทำสัญญาขายฝากที่ดินต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น หากไม่ได้ไปทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินจะถือว่าทุกอย่างเป็นโมฆะ
  • ในวันที่ทำสัญญาผู้ขายฝากจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อฝากทันที
  • ส่วนใหญ่ผู้ขายฝากจะได้วงเงินกู้ประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน
  • ผู้ซื้อฝากจะได้รับดอกเบี้ยขายฝากสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี
  • ระยะเวลาในการไถ่ถอนสำหรับอสังหาริมทรัพย์สูงสุด 10 ปี และสำหรับสังหาริมทรัพย์สูงสุด 3 ปี
  • หากครบกำหนดสัญญาขายฝากที่ดินแล้ว ผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่ถอนที่ดินได้ สามารถขอเจรจาขยายเวลาออกไปเพื่อต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามที่กฎหมายกำหนด
  • หากมีการผิดชำระหนี้ผู้ซื้อฝากจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องต่อศาล

เงื่อนไขของการจำนอง

การจำนองก็มีเงื่อนไขที่เราต้องรู้และทำความเข้าใจให้ดีก่อนทำสัญญาเช่นเดียวกัน ซึ่งเงื่อนไขการจำนองที่ควรรู้ มีดังนี้

  • การทำสัญญาจำนองที่ดินต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น หากไม่ได้ไปทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินจะถือว่าทุกอย่างเป็นโมฆะ
  • ในวันที่ทำสัญญาผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองให้กับผู้รับจำนอง และยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนองอยู่
  • ส่วนใหญ่ผู้จำนองจะได้วงเงินกู้ประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน
  • ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในสัญญาจำนอง ผู้จำนองต้องชำระหนี้ให้ผู้รับจำนองจนกว่าจะครบยอดที่กำหนด
  • หากมีการผิดชำระหนี้ ไม่สามารถยึดทรัพย์สินได้ทันที ผู้รับจำนองต้องไปฟ้องกับศาล และหากจะนำทรัพย์ขายทอดตลาดต้องมีหนังสือบอกผู้จำนองล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน

สำหรับใครที่อยากอ่านความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประมูลที่ดินขายทอดตลาด สามารถตามไปอ่านได้ที่ วิธีประมูลที่ดินขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี ฉบับเข้าใจง่าย อัปเดท 2566 กันได้เลยครับ

ค่าใช้จ่ายในการขายฝากและการจำนอง

ค่าใช้จ่ายในการขายฝากและการจำนอง

ในการขายฝากและการจำนองมีค่าใช้จ่ายที่เราควรศึกษาไว้ เพื่อที่จะได้เตรียมเงินให้พร้อมและทำธุรกรรมให้เสร็จเรียบร้อย ไปดูกันเลยครับว่าค่าใช้จ่ายในการขายฝากและการจำนองมีอะไรที่เราต้องจ่ายบ้าง

ค่าใช้จ่ายในการขายฝาก

การขายฝากมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน
  • ในกรณีถือครองอสังหาริมทรัพย์ยังไม่เกิน 5 ปี ต้องค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตรา 3.3% หรือ ค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% ของราคาประเมิน หรือราคาขายฝาก แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ซึ่งถ้าเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์อีก
  • ค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมิน ตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด
  • สำหรับการไถ่ถอนจากการขายฝาก จะเสียค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท และต้องชำระภาษีเงินได้

ค่าใช้จ่ายในการจำนอง

การจำนองมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตรา 1% ของวงเงินจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กรณีที่ใช้สัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  • สำหรับการไถ่ถอนจากจำนอง จะเสียเฉพาะค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท

สำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับค่าโอนที่ดิน สามารถตามไปอ่านกันได้ที่ ค่าโอนที่ดินฉบับอัพเดท 2566 พร้อมวิธีคำนวณแบบง่าย ๆ กันได้เลยครับ

บทสรุป

จบกันไปแล้วสำหรับความแตกต่างระหว่างการขายฝากและการจำนอง น่าอยู่ขอสรุปแบบสั้น ๆ ให้ทุกคนเข้าใจอีกครั้งว่า การขายฝาก คือ การที่ลูกหนี้ต้องการขายทรัพย์ให้กับเจ้าหนี้ แต่มีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าสามารถซื้อทรัพย์คืนได้ในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ส่วนการจำนองเหมาะสำหรับคนที่ต้องการกู้เงินโดยไม่ต้องการขายทรัพย์สินที่จำนอง

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อประโยชน์ของทุกคน อย่าลืมศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและปรึกษาเจ้าหน้าที่ให้ดีก่อนทำสัญญาใด ๆ ด้วยนะครับ

สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อที่ดินขอนแก่นอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชม ประกาศซื้อขายที่ดินขอนแก่น ได้ที่เว็บไซต์ ขอนแก่นน่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายที่ดินสวย ๆ ทำเลฮิตในขอนแก่นกว่า 400 แห่ง และยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้อ่านกันอีกด้วย

หรือใครที่กำลังอยากขายที่ดินแต่ยังขายไม่ได้ซักที ก็สามารถเข้ามาลงประกาศขายในเว็บไซต์น่าอยู่ได้เช่นกัน ประกาศฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่จำกัด โดยสามารถเข้าดู วิธีลงประกาศขายที่ดินได้ที่นี่เลยครับ

อ้างอิง

กดติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อ หาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดิน รวมถึงหาเช่า/หอพักทั่วเมืองขอนแก่นเพิ่มเติมได้ที่บนเว็บไซต์