การมีบ้านซักหลังถือว่าเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน สำหรับใครที่ไม่มีเงินก้อนการขอกู้สินเชื่อกับทางธนาคารถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่มักมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยคงที่แค่ 3 ปีแรก ทำให้หลังจากนั้นหลายคนต้องหาวิธีปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง และวิธีเหล่านั้นก็คือการ Refinance และ Retention นั่นเองครับ ในวันนี้น้องน่าอยู่จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักการ Refinance และ Retention กัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ
สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร สามารถตามไปอ่านกันต่อได้ที่ 5 ขั้นตอนเตรียมตัวกู้ซื้อบ้านง่าย ๆ ให้ผ่านฉลุย กันได้เลยครับ
Refinance คืออะไร
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าส่วนใหญ่เมื่อผ่อนบ้านครบ 3 ปี ดอกเบี้ยเงินกู้มักปรับสูงขึ้น ทำให้หลายคนจึงเลือกทำการ Refinance ซึ่งการ Refinance ก็คือการขอยื่นกู้สินเชื่อกับธนาคารใหม่ เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยบ้านต่ำลงและช่วยให้ยอดผ่อนต่อเดือนน้อยลง ผ่อนบ้านได้หมดไวยิ่งขึ้นนั่นเอง
โดยแต่ละธนาคารมักมีสินเชื่อ Refinance เด็ด ๆ ออกมา ใครที่มีแพลน Refinance บ้าน 2567 อย่าลืมติดตามการอัพเดทข่าวสารของแต่ละธนาคารและศึกษารายละเอียด Refinance บ้าน กันให้ดีด้วยนะครับ
หลังจากทำการศึกษารายละเอียด Refinance บ้าน เรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องทำการติดต่อธนาคารและเตรียมเอกสารไว้ให้พร้อม ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อ Refinance บ้าน มีดังนี้ครับ
เอกสารที่ใช้สำหรับ Refinance
- เอกสารส่วนบุคคลของผู้กู้ และผู้กู้ร่วม (ถ้ามี) ได้แก่
1.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการของผู้กู้ ผู้กู้ร่วม และคู่สมรส
1.2 ทะเบียนบ้านของผู้กู้ ผู้กู้ร่วม และคู่สมรส (ถ้ามี)
1.3 สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส ของผู้กู้และผู้กู้ร่วม (ถ้ามี)
1.4 ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) - เอกสารทางการเงิน
2.1 สลิปเงินเดือน และหนังสือรับรองเงินเดือน ของผู้กู้ ผู้กู้ร่วม
2.2 สำเนา Statement ย้อนหลัง และหลักฐานแสดงรายได้อื่นที่เชื่อถือได้ของผู้กู้ ผู้กู้ร่วม
2.3 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน / ทะเบียนการค้า (กรณีประกอบธุรกิจ)
2.4 เอกสารแสดงข้อมูลการเสียภาษี - เอกสารหลักประกันการRefinance
3.1 สำเนาโฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์ห้องชุด ที่ใช้เป็นหลักประกัน - เอกสารจากธนาคารเดิม
4.1 สำเนาหนังสือสัญญากู้ สำเนาหนังสือสัญญาจำนองหลักทรัพย์
4.2 สำเนาใบเสร็จการชำระเงินเดือนล่าสุด หรือ Bank Statement การชำระบัญชีเงินกู้จากสถาบันการเงิน
Retention คืออะไร
จบกันไปแล้วสำหรับการทำความรู้จักการ Refinance ต่อไปเรามาทำความรู้จัก Retention กันบ้างดีกว่าครับ Retention ก็คือการขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่เรากำลังกู้อยู่นั่นเอง โดยสามารถทำได้หลังจากผ่อนชำระครบ 3 ปีแล้ว เราสามารถทำการยื่นเรื่องกับธนาคารเดิมที่เรากำลังกู้บ้านอยู่ เพื่อขอต่อรองอัตราดอกเบี้ยบ้านในเรทที่ต่ำลงได้ครับ
การ Retention บ้านยังมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและไม่ต้องเตรียมเอกสารมากมายให้ปวดหัวอีกด้วย โดยเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อ Retention บ้าน มีดังนี้ครับ
- สัญญาเงินกู้ ที่ใช้ในการกู้เงินซื้อบ้านกับธนาคารนั้นๆ
- ทะเบียนบ้าน และสำเนา ของผู้กู้
- บัตรประชาชน และสำเนา ของผู้กู้
สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สามารถตามไปอ่านกันต่อได้ที่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR, MLR, MOR คืออะไร? รู้ไว้ก่อนกู้บ้าน ไม่พลาดแน่!! กันได้เลยครับ
เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของ Retention และ Refinance
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจลังเลว่าเราจะลดดอกเบี้ยกู้บ้านด้วยการ Refinance หรือ Retention ดี? เพื่อให้ทุกคนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นน้องน่าอยู่จึงเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของ Refinance และ Retention ให้ทุกคนได้ดูกันครับ
เรามาเริ่มที่การ Refinance บ้าน กันก่อนเลยครับ Refinance มีข้อดีคือเราสามารถเลือกดูอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารเพื่อเลือกธนาคารที่เหมาะสมกับเราที่สุดได้ มีตัวเลือกหลากหลายมากขึ้น ทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำนั่นเอง ส่วนข้อเสีย คือ ต้องเตรียมเอกสารขอกู้บ้านใหม่ ซึ่งเอกสารค่อนข้างเยอะ ใช้เวลารออนุมัตินาน 2 - 3 สัปดาห์ และมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมหลายรายการครับ
ส่วนการ Retention บ้าน มีข้อดี คือ เตรียมเอกสารน้อย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก รออนุมัติสินเชื่อเร็วประมาณ 7 วันทำการ และมีค่าธรรมเนียมไม่สูงมากนัก ประมาณ 1-2% ของยอดวงเงินกู้เต็ม หรือวงเงินที่เหลืออยู่ ตามแต่ธนาคารจะกำหนด ส่วนข้อเสียคือ เราจะขอลดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้มาก ส่วนใหญ่อยู่ที่ 0.25-0.50% ครับ
Refinance กับ Retention เลือกแบบไหนดีกว่า
เมื่อเรารู้ข้อดีและข้อเสียของการRefinance บ้าน และการ Retention บ้าน กันไปแล้ว บางคนอาจได้คำตอบแล้วว่าเราจะเลือกRefinance บ้าน หรือ Retention บ้าน ดี แต่สำหรับใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้น้องน่าอยู่แนะนำว่าหากเราเหลือยอดผ่อนชำระ 1 ล้านบาทขึ้นไป หรือจะกู้เงินเพื่อรีโนเวทบ้าน แนะนำให้ทำการ Refinance เพราะการ Refinance ต้องเตรียมเอกสารเยอะและมีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง หากยอดเงินกู้ไม่เยอะ อาจไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่ายนั่นเองครับ
แต่สำหรับใครที่ยอดเงินกู้เหลือต่ำกว่า 1 ล้านบาท น้องน่าอยู่แนะนำให้เลือกเป็นการ Retention ครับ ถึงแม้การ Retention จะไม่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยมากเท่าการ Refinance แต่มีค่าธรรมเนียมน้อยกว่า เตรียมเอกสารน้อย รออนุมัติไว หากยอดเงินกู้เหลือไม่เยอะก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าครับ
บทสรุป
จบกันไปแล้วกับการทำความรู้จักการ Refinance และ Retention ทั้งสองวิธีเป็นการช่วยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหมือนกัน แต่ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป น้องน่าอยู่หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังสนใจกู้ซื้อบ้านจะมีความเข้าใจในเรื่อง Refinance และ Retention กันมากขึ้นและตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองกันนะครับ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ทุกคนอย่าลืมศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนทำการกู้ซื้อบ้านกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อบ้านเดี่ยวอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชม โครงการบ้านใหม่พร้อมอยู่ ได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายบ้านเดี่ยว โครงการบ้านจัดสรร แนะนำโครงการใหม่พร้อมอยู่ทุกทำเล ที่มาพร้อมกับดีไซน์ สไตล์บ้านที่หลากหลาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ที่คุณชอบ มีให้เลือกกว่า 1,200 โครงการและยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการบ้านที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้อ่านกันอีกด้วย
แนะนำอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ในแต่ละเดือน ตลอดปี 67
- อัปเดทล่าสุด อัตราดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้าน-คอนโด เดือนมีนาคม ปี 2567
- อัปเดทล่าสุด อัตราดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้าน-คอนโด เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567
- อัปเดทล่าสุด อัตราดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้าน-คอนโด เดือนมกราคม ปี 2567
บทความแนะนำ
- ทำความรู้จักบ้านหลุดธนาคาร พร้อมขั้นตอนการซื้อ
- เรื่องควรรู้ก่อนซื้อบ้านมือสอง ใครกำลังจะซื้อบ้านต้องอ่าน
- เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านบนที่ดินเดิม
อ้างอิง
- รีเทนชั่นคือ? รีไฟแนนซ์กับรีเทนชั่นแบบไหนดอกเบี้ยถูกกว่า?
- วิธีผ่อนบ้านให้หมดเร็วด้วยการรีไฟแนนซ์บ้าน พร้อมเคล็ดลับและเอกสารรีไฟแนนซ์บ้านที่ต้องใช้
กดติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อ หาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดิน รวมถึงหาเช่า/หอพักทั่วเมืองขอนแก่นเพิ่มเติมได้ที่บนเว็บไซต์
- Website : www.NaYoo.co (ไม่มี m)
- Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่
- YouTube : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo