การซื้อบ้านมือสองมารีโนเวทขายต่อเพื่อเก็งกำไรเป็นช่องทางการลงทุนอสังหาที่ได้รับความนิยมมากจากนักลงทุนมือใหม่และมือเก๋า โดยเฉพาะบ้านหลุดจำนองขายทอดตลาดอสังหา ถือว่าเป็นของดีราคาถูกแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีข้อควรระวัง

บทความนี้น้องน่าอยู่จะมาแนะนำ How to ประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหาของกรมบังคับคดีเหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยประมูลทรัพย์มาก่อน เริ่มตั้งแต่เข้าใจความหมาย การเตรียมตัว ขั้นตอนการประมูล ข้อดีข้อเสีย พร้อมกับบอกแหล่งซื้อบ้านมือสองออนไลน์ที่น่าสนใจ หากพร้อมแล้วไปกันเลยครับ

ทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหาคืออะไร

ทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหา คือ การนำทรัพย์ไปจำนองไว้กับเจ้าหนี้เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมสินเชื่อ ทรัพย์จะหลุดจำนองก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ตามกำหนดได้ จากนั้นลูกหนี้จะถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ให้ศาลมีคำสั่งนำทรัพย์มาขายทอดตลาดโดยให้กรมบังคับคดีเป็นผู้ดำเนินการเพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปจ่ายคืนให้กับเจ้าหนี้เร็วที่สุด

ทรัพย์ที่นำมาขายทอดตลาดมีราคาถูกมากเพราะต้องการขายออกให้เร็วที่สุด จึงเป็นทรัพย์นักลงทุนสายอสังหาทรัพย์เพื่อการลงทุนนิยมประมูลมารีโนเวทหรือขายต่อเก็งกำไรกันมาก

การเตรียมตัวก่อนประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหา

การเตรียมตัวก่อนประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหา

การประมูลซื้อทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหานั้นควรศึกษาข้อบังคับกฎระเบียบว่ามีขั้นตอนและรายละเอียดอย่างไร เพราะเหล่ามิจฉาชีพมักจะใช้ช่องโหว่ในการขาดความรู้ความเข้าใจทางกฎหมายอสังหามาทำให้เสียประโยชน์หรือหลอกลวงจากนายหน้าขายอสังหาปลอมได้ สำหรับการเตรียมตัวก่อนประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดีมีขั้นตอนดังนี้

1. ค้นหาทรัพย์หลุดจำนองธนาคารที่ต้องการ

ค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาด บ้าน/ที่ดินหลุดจำนองตามราคาที่ต้องการ หรือทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหาอื่นๆ จากทั่วประเทศ เช่น ที่ดิน คอนโด บ้านมือสอง ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว และอาคารพาณิชย์ การประมูลซื้อบ้านดูข้อมูลได้จากกรมบังคับคดีได้ที่เว็บไซต์กรมบังคับคดี หรืออีกช่องทางที่แอปพลิเคชัน LED Property Plus

2. กฎระบียบข้อบังคับที่ควรรู้ก่อนประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหา

สำหรับรายละเอียดกฎระบียบข้อบังคับที่มือใหม่ไม่เคยประมูลควรรู้ มีดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบชื่อผู้ประมูลให้ครบถ้วนก่อนเข้าประมูล เพราะว่าหลังจากประมูลซื้อทรัพย์ได้แล้วจะไม่สามารถเพิ่มหรือลดซื้อผู้ซื้อได้
  • ตรวจสอบขั้นตอนและเงื่อนไขการชำระเงินทรัพย์ขายทอดตลาดที่ต้องการประมูลว่ามีความพร้อมที่จะชำระตามข้อกำหนดหรือไม่
  • หากไม่สามารถเข้าประมูลทรัพย์ด้วยตนเองตามเวลาประมูลได้ ต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นเข้าร่วมประมูลแทนก่อนถึงเวลาประมูลให้เรียบร้อย
  • การประมูลราคาทรัพย์ขายทอดตลาดจะใช้วิธีเสนอราคาด้วยปากเปล่า
  • หากราคาที่ทำการประมูลต่ำมากเกินไปเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีมีสิทธิ์เพิกถอนทรัพย์จากการประมูลได้
  • การประมูลทรัพย์จะเสร็จสิ้นก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ขานราคาประมูล นับ 1 ถึง 3 แล้วเคาะไม้ ก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการประมูล
  • ในกรณีนักลงทุนอสังหาที่เป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ได้แล้วแต่ไม่สามารถขำระเงินตามเงื่อนไขได้ ทางกรมบังคับคดีจะนำทรัพย์มาขายทอดตลาดอีกครั้ง ถ้าหากการประมูลครั้งใหม่ได้ราคาต่ำกว่าราคาประมูลครั้งก่อน ผู้ประมูลได้ในครั้งก่อนจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินส่วนต่างของราคา

3. การเตรียมเอกสารและเงินประกัน

สำหรับการเตรียมเอกสารในการเข้าประมูลและการวางเงินประกันมีขั้นตอนดังนี้

  • การเตรียมเอกสาร ในการเข้าร่วมประมูลมีแค่เพียงบัตรประชาชนพร้อมสำเนา หากต้องการให้ผู้อื่นประมูลแทนให้เตรียมหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจพร้อมเซ็นต์สำเนาให้เรียบร้อย
  • การเตรียมเงินประกัน สำหรับเงินประกันสามารถจ่ายเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คได้ สามารถศึกษาเงื่อนไขการชำระเงินประกันเพิ่มเติมได้ที่บทความวิธีประมูลที่ดินขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี ฉบับเข้าใจง่าย อัปเดท 2568

ขั้นตอนการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี

ขั้นตอนการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี

มาถึงขั้นตอนการทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหาจะสามารถประมูลได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ เข้าร่วมประมูลตามสถานที่ที่กรมบังคับคดีกำหนด กับประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Offering Auction)

เข้าร่วมประมูลตามสถานที่ที่กรมบังคับคดีกำหนด

การเข้าร่วมประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดในสถานที่ที่ทางกรมบังคับคดีกำหนดจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประมูลทำการลงเบียน โดยจะต้องทำการลงทะเบียนตามสถานที่วันเวลาที่กำหนด พร้อมกับวางเงินประกันและทำสัญญาในการเสนอราคาให้เรียบร้อย จากนั้นรับป้ายประมูลและเข้าไปนั่งในสถานที่กรมบังคดีที่จัดเตรียมไว้
  2. เจ้าหน้าที่แจ้งราคาเริ่มต้น การเริ่มต้นประมูลเจ้าหน้าที่จะอธิบายเงื่อนไขการประมูลให้ทราบพร้อมกับกำหนดราคาเริ่มต้นในการประมูล การประมูลครั้งที่ 1 หากยังไม่มีผู้เสนอราคา การประมูลครั้งที่ 2 ราคาเริ่มต้นประมูลจะถูกลดเหลือ 90% ของราคาเริ่มต้นครั้งที่ 1 รอบที่ 3 เหลือ 80% ของราคาเริ่มต้นครั้งที่ 1 รอบที่ 4 เหลือ 70% ของราคาเริ่มต้นครั้งที่ 1 หากราคาเสนอต่ำเกินไปเจ้าหน้าที่สามารถถอนทรัพย์ออกจากการประมูลได้
  3. ประกาศผู้ชนะประมูล เมื่อการประมูลได้ราคาสูงสุดเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการถามหาผู้คัดค้านจากโจทย์หรือจำเลย ถ้าหากไม่มีผู้คัดค้านเจ้าหน้าที่จะทำการเคาะไม้ขายทรัพย์นั้นให้กับผู้ชนะการประมูล ผู้ชนะการประมูลจะทำการจ่ายเงินและโอนกรรมสิทธิ์ ส่วนผู้แพ้ประมูลจะได้รับเงินประกันคืน
  4. ผู้ประมูลเสนอราคา หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทำการเปิดประมูล ผู้ประมูลสามารถยกป้ายเสนอราคาตามราคาเริ่มต้นได้ หรือยกป้ายเพื่อสู้ราคากับผู้ประมูลรายอื่นได้ โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้กำหนดว่าเพิ่มราคาประมูลแต่ละครั้งละเท่าไหร่ ผู้ประมูลสามารถเสนอราคาตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดหรือมากกว่าได้

เข้าร่วมประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Offering Auction)

การเข้าร่วมประมูลในช่องทางออนไลน์ทางกำหนดบังคับจัดสถานที่ให้เข้าร่วมประมูลทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา พิษณุโลก เชียงใหม่ สงขลา และสุราษฎร์ธานี สำหรับขั้นตอนการเข้าร่วมประมูลมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหาที่ต้องการ ทำการเข้าสู่เว็บไซต์ของกรมบังคับคดีในหัวข้อ e-service จากนั้นคลิกเลือก "ค้นหาทรัพย์ประกาศขายทอดตลาด" เลือกทรัพย์ที่ต้องการและจดลำดับทรัพย์ไว้
  2. ติดต่อจองเครื่อง ดำเนินการติดต่อจองเครื่องคอมพิวเตอร์กับสำนักงานกรมที่ดินในจังหวัดต่างๆ
  3. วางเงินประกัน ในวันที่ประมูลทรัพย์ เริ่มต้นให้ทำการตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์และลำดับทรัพย์ที่จองไว้ จากนั้นดำเนินการวางเงินประกันกับเจ้าหน้าที่ พร้อมรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านที่ใช้เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการประมูล จากรอเข้าร่วมประมูล
  4. เข้าร่วมประมูล เมื่อถึงเวลาจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาแจ้งให้ทราบว่าถึงลำดับทรัพย์ที่จองประมูลไว้แล้ว ให้นำรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านที่ได้มาล็อกอินเข้าสู่ระบบประมูล และรอสัญญาณการประมูล

หลังจากประมูลซื้อทรัพย์ได้เรียบร้อยแล้วผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินในวันประมูล ทั้งนี้ทางกรมบังคดีสามารถขยายเวลาการจ่ายเงินให้ 15-90 วันตามเหตุผลอันสมควร หากสามารถชำระเงินได้ในวันที่ประมูลการโอนกรรมสิทธิ์ทางกรมบังคับคดีจะมอบเอกสารให้ผู้ชนะประมูลดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินด้วยตนเอง

ข้อดีข้อเสียในการซื้อทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหา

ด้วยราคาที่ถูกมากของทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหาทำให้นักลงทุนหลายรายสนใจซื้อบ้านคอนโดมารีโนเวทเพื่อปล่อยเช่าอสังหา หรือเก็งกำไรขายอสังหา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าการซื้อทรัพย์จากกรมบังคับคดีเหมาะสมกับนักลงทุนหรือไม่ ขอแนะนำข้อดีข้อเสียดังต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียในการซื้อทรัพย์จากกรมบังคับคดี

ข้อดีข้อเสียในการซื้อทรัพย์จากกรมบังคับคดี

แหล่งซื้อบ้านมือสองออนไลน์ สะดวกปลอดภัย เชื่อถือได้

หากเพื่อนๆ สนใจลงทุนในอสังหามือสอง เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด หรือที่ดินเปล่า เรามีแพลตฟอร์มออนไลน์เว็บไซต์น่าอยู่เป็นแหล่งซื้อขายบ้านออนไลน์ครบวงจรรวบรวมทรัพย์มือสองที่น่าสนใจมากถึง 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย, พิษณุโลก, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ชลบุรี, ระยอง, อุดรธานี, อุบลราชธานี, ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และขอนแก่น ซึ่งมีความสะดวกปลอดภัย และน่าเชื่อถือ ค้นหาบ้านโครงการใหม่หรือทรัพย์มือสองได้ตลอด 24 ชม. พร้อมมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเหมาะกับผู้เริ่มต้นในสายลงทุนอสังหา

บทสรุป

จบไปแล้วกับ How to ประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดอสังหาที่เหมาะกับมือใหม่ที่ยังไม่เคยประมูลทรัพย์มาก่อน หวังว่าจะโดนใจนักลงทุนหน้าใหม่หรือผู้ที่กำลังวางแผนซื้อบ้านจากกรมบังคับคดีกันนะครับ

สำหรับใครที่กำลังมองหาบ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, คอนโดและทาวน์โฮม สามารถเข้ามาเลือกชมได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ นอกจากนี้ยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับบ้านที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้ติดตามกันอีกด้วยนะครับ

บทความแนะนำ

- ซื้อบ้านร้างดีไหม ข้อควรรู้ก่อนซื้อ

- ทำความรู้จักบ้านหลุดธนาคาร พร้อมขั้นตอนการซื้อ

- ดูประกาศขายบ้านออนไลน์อย่างไร ให้ไม่มีปัญหาภายหลัง