ยื่นภาษี 2567 ขอคืนภาษีอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ตามกฎหมายประมวลรัษฎากร ใครที่มีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 ต่อปีต้องทำการเสียภาษีเงินได้ แต่ทุกคนอย่าลืมเช็คเงินคืนภาษีกันด้วยนะครับว่าเราสามารถขอคืนภาษีได้มั้ย ใครกำลังเตรียมยื่นภาษี 2567 แล้วยังไม่เข้าใจการขอคืนภาษี โดยเฉพาะเหล่า First Jobber ทั้งหลาย ไม่ต้องกังวลไปครับ วันนี้น้องน่าอยู่จะพาทุกคนไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการคืนภาษีกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยครับ
ขอคืนภาษี คืออะไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันเลยครับว่าการขอคืนภาษีคืออะไร การคืนภาษีนั้นเป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้ หากถูกหักภาษีมากกว่ามูลค่าภาษีที่ตัวเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริง เมื่อเรายื่นเงินภาษี 2567 ไป สรรพากรก็จะพิจารณาตามเงื่อนไข และคืนภาษีบางส่วนกลับมาให้เรานั่นเอง
เพราะฉะนั้นหากเรามีการวางแผนภาษีเพื่อลดหย่อนภาษีได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เราขอคืนภาษีได้และช่วยประหยัดเงินไปได้อีกครับ น้องน่าอยู่แนะนำว่าเราควรหมั่นคอยติดตามข่าวสารเสมอว่าหลักเกณฑ์เงื่อนไขคืนภาษีแต่ละปีเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะครับ
ค่าอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง
สำหรับรายการลดหย่อนภาษีปี 2566 ที่ทุกคนต้องเตรียมยื่นภาษี 2567 จะมีอะไรบ้าง น้องน่าอยู่ได้รวบรวมมาให้ทุกคนแล้วครับ แนะนำว่าทุกคนควรต้องเช็ครายการลดหย่อนภาษีพื้นฐานให้พร้อม เพื่อเวลาที่ต้องยื่นภาษี 2567 จะได้ไม่มีรายการลดหย่อนภาษีไหนตกหล่นนะครับ ซึ่งรายการลดหย่อนคืนภาษีพื้นฐาน มีดังนี้ครับ
- ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว คืนภาษีจำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส คืนภาษีจำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร คืนภาษีสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คืนภาษีคนละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส คืนภาษีจำนวนคนละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ คืนภาษีจำนวนคนละ 60,000 บาท
2. ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ คืนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง คืนภาษีไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา คืนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ คืนภาษีไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต
3. ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
- กองทุนประกันสังคม คืนภาษีไม่เกิน 9,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คืนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน คืนภาษีไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) คืนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) คืนภาษีไม่เกิน 30,000 บาท และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
4. ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป คืนภาษีไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ คืนภาษีลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่คืนภาษีไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคพรรคการเมือง คืนภาษีไม่เกิน 10,000 บาท
5. ลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ใครที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนคืนภาษีภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
- โครงการช้อปดีมีคืน สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ขอคืนภาษีสูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท
สำหรับในปี 2567 ก็มีโครงการ Easy E-Receipt จากภาครัฐที่สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ ใครที่อยากศึกษาเกี่ยวกับโครงการนี้เพิ่มเติม เพื่อเตรียมวางแผนลดหย่อนภาษี สามารถตามไปอ่านกันได้ที่ สายช้อปต้องรู้ Easy E-Receipt 2567 ซื้ออะไรได้ลดหย่อนภาษีบ้าง กันได้เลยครับ
ขั้นตอนการขอคืนภาษี
เมื่อเราเรียนรู้เกี่ยวกับรายการลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเราไปดูขั้นตอนการขอคืนภาษีเพื่อเตรียมยื่นภาษี 2567กันเลยครับ โดยเราสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเอกสารหรือกระดาษ ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งใกล้บ้านได้ตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. จนถึง 31 มี.ค. ส่วนการยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร สามารถทำได้ถึงวันที่ 9 เม.ย. 2567 ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูวิธียื่นภาษี 2567 ไปพร้อม ๆ กันกับน้องน่าอยู่ได้เลยครับ
- เข้าไปที่เว็บไซต์ยื่นภาษี 2567 https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ กดเข้าสู่ระบบด้วยระบบ Digital ID หรือ RD ID หากใครยังไม่เคยเสียภาษีมาก่อนให้สมัครสมาชิกก่อนนะครับ
- เมื่อเข้าสู่ระบบสำเร็จ ให้เราทำการยื่นแบบภาษี โดยทำการใส่ข้อมูลส่วนตัวและกรอกเงินได้ของเราให้เรียบร้อย
- เริ่มทำการขอคืนภาษีในเมนูกรอกค่าลดหย่อน ซึ่งในเว็บไซต์จะมีรายการลดหย่อนภาษีตามที่น้องน่าอยู่ได้กล่าวไปข้างต้น ให้เลือกดูรายการลดหย่อนภาษีที่เรามีและกรอกข้อมูลไปได้เลยครับ เช่น รายการลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว, ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน, เงินบริจาค และช้อปดีมีคืน เป็นต้น
- ตรวจสอบข้อมูลและสามารถกดยืนยันการยื่นแบบก็เป็นอันเสร็จสิ้นการยื่นภาษี 2567 แล้วครับ
เมื่อทำการยื่นภาษี 2567 เรียบร้อยแล้ว ใครที่อยากเช็คว่าสถานะการคืนภาษีของเราอยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว เราไปดู ขั้นตอนการตรวจสอบ ขอคืนภาษี 2567 กันเลยครับ
- เข้าไปที่ระบบ My Tax Account ของสรรพากร
- เข้าสู่ระบบด้วย ระบบ Digital ID หรือ RD ID
- เมื่อเข้าสู่ระบบสำเร็จ ให้กดติดตามสถานะและส่งเอกสาร ระบบจะโชว์สถานะการคืนภาษีว่าอยู่ที่ขั้นตอนไหนแล้ว หากมีปัญหาเราสามารถติดต่อสรรพากรพื้นที่ที่ดูแลภาษีของเราได้โดยตรงเลยครับ
- ใครที่ยังยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไม่ครบถ้วนก็สามารถยื่นเพิ่มเติมได้ แค่โดยกดที่ “เลือกเอกสารเพื่อนำส่ง” ได้เลยครับ
ช่องทางขอคืนภาษี
เมื่อกรมสรรพากรอนุมัติเงินคืนภาษีของเราเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเลือกช่องทางขอคืนภาษีได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
- บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวบัตรประชาชน 13 หลัก
- บัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ผู้ขอคืนภาษีที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักได้ กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ก โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น
ระยะเวลาขอคืนภาษี
ใครที่ต้องยื่นภาษี 2567 สามารถทำการยื่นภาษีออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ได้ถึงวันที่ 9 เม.ย. 2567 และเมื่อยื่นภาษีเรียบร้อยแล้วจะได้คืนภาษีในกี่วันนั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ความเสี่ยงของผู้ยื่นว่ามีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ หากไม่พบปัญหาจะได้คืนภาษีภายใน 3-4 วันครับ
เคล็ดลับขอคืนภาษีให้ได้เร็ว
อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงมีความเข้าใจในการขอคืนภาษี 2567 กันมากขึ้นแล้วใช่มั้ยครับ ก่อนจากกันไปน้องน่าอยู่มีเคล็ดลับขอคืนภาษีให้ได้เร็วมาฝากทุกคนกันครับ ไปดูกันเลย
- เตรียมเอกสารให้พร้อม เราอาจโดนทางสรรพากรเรียกดูเอกสารเพิ่มเติม และใช้เวลานานขึ้นกว่าที่ได้รับคืนเงินภาษี ดังนั้นควรเตรียมเอกสารให้พร้อม โดยเอกสารที่ควรเตรียมพร้อมทุกครั้งที่ยื่นภาษี ได้แก่ หนังสือรับรองเงินเดือน, การหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบทวิ 50), ข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษี
- เช็คข้อมูลให้ถูกต้องก่อนกดยืนยัน เราควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้ดีก่อนกดยืนยันยื่นภาษี เพราะหากมีข้อมูลผิดพลาดอาจทำให้ได้รับการคืนภาษีช้า หากข้อมูลไม่ครบถ้วน ควรยื่นเอกสารเพิ่มเติมให้เรียบร้อย
- รับเงินคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน เป็นช่องทางที่ได้รับคืนภาษีเร็วที่สุด หากผ่านการพิจารณาคืนภาษี จะได้รับคืนภาษีใน 3-5 วัน แต่ถ้าไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ไว้แล้วไปติดต่อรับเงินคืนที่ธนาคารอาจต้องใช้เวลา 15 วัน
บทสรุป
จบกันไปแล้วกับการทำความรู้จักการขอคืนภาษีและเรียนรู้การยื่นภาษี 2567 หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังจะยื่นภาษี 2567จะมีความเข้าใจและนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนลดหย่อนภาษีกันได้นะครับ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ทุกคนอย่าลืมศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนทำการลดหย่อนภาษีและยื่นภาษีกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อบ้านเดี่ยวและคอนโดอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชมโครงการบ้านใหม่พร้อมอยู่ และโครงการคอนโดได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายบ้านเดี่ยว โครงการบ้านจัดสรรและคอนโด แนะนำโครงการใหม่พร้อมอยู่ทุกทำเล ที่มาพร้อมกับดีไซน์ สไตล์บ้านที่หลากหลาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ที่คุณชอบ มีให้เลือกกว่า 1,300 โครงการและยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการบ้านที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้อ่านกันอีกด้วย
บทความแนะนำ
- ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับอัปเดท 2566
- ทำเกษตรกรรม เลี่ยงภาษีที่ดินได้จริงหรือไม่ ?
- ระวังโดนยึดที่ดินทิ้งร้าง ! แม้เสียภาษีที่ดินว่างเปล่าแล้ว
อ้างอิง
- ลดหย่อนภาษี 2566 เอกสารยื่นภาษี 2566 ที่ต้องใช้ หักลดหย่อนอะไรได้บ้าง
- [สรุป] วิธี ขอคืนภาษี 2567 ต้องทำยังไง ? – ทำไมเงินยังไม่เข้า
- ยื่นภาษีปี 2567 ขอคืนภาษี ได้เงินเร็วสุดภายในกี่วัน เปิดวิธีเช็กสถานะ
กดติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อ หาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดิน รวมถึงหาเช่า/หอพักทั่วเมืองขอนแก่นเพิ่มเติมได้ที่บนเว็บไซต์
- Website : www.NaYoo.co (ไม่มี m)
- Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่
- YouTube : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo