ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นทุกวัน ในขณะที่เราต่างใช้ไฟมากขึ้น ไม่ว่าจะจากการ WFH หรืออากาศร้อนในช่วงเดือนร้อนๆ ทำให้เพื่อนๆ หลายคนต้องคิดหาทางแก้ปัญหาอย่างจริงจัง การติดหลังคาโซล่าเซลล์คือทางออกที่ดีจริงไหม และถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะใช้วิธีนี้เพื่อแก้ปัญหาวันนี้ ‘ขอนแก่นน่าอยู่’ จะพาทุกคนมารู้จักโซล่าเซลล์ ว่าเป็นแบบไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ตามมากันเลยค่ะ

ประเภทของโซล่าเซลล์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

เป็นแผลโซล่าเซลล์ที่ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า single crystalline (single-Si) โดยจุดในการสังเกตุง่ายๆ คือเซลล์ของแผงนั้นจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมสี่มุม เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีของแผงเป็นสีน้ำเงิน ไม่เข้มมาก โดยแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ทำมาจาก ซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก ที่เกิดมาจากกระบวนการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า Czochralski process จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในแผงโซล่าเซลล์

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์

      – มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจากซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%

     – มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์

     – มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป

     – ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงน้อย

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์

    – เป็นชนิดที่มีราคาแพง

    – ถ้าหากแผงโซล่าเซลล์มีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้ได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดโวลต์สูงเกินไป

2. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

         แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si) โดยในกระบวนการผลิต สามารถที่จะนำเอา ซิลิคอนเหลว มาเทใส่โมลด์ที่เป็นสี่หลี่ยมได้เลย ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นบางอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออก น้ำเงิน ไม่เข้มมาก

ข้อดีแผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์

       – มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน

       – มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูง ดีกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย

       – มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์

ข้อเสียแผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์

       – มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16%

       – มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่า ชนิดโมโนคริสตัลไลน์

       – แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีสีน้ำเงิน ทำให้บางครั้งอาจดูไม่สวยงาม

3. แผงโซล่าเซลล์ชนิด อะมอร์ฟัส (Amorphous Silicon Solar Cell)

         แผงโซล่าเซลล์ชนิด อะมอร์ฟัส ซึ่งบางครั้งเราจะเรียกแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอน เป็นการนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น ซึ่งสารฉาบที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด ประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ แต่สำหรับบ้านเรือนโดยทั่วไปแล้ว มีเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ที่ใช้ แผงโซล่าเซลล์ ที่เป็นแบบชนิดฟิล์มบาง

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส

        – แผงโซล่าเซลล์มีราคาถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน

       – ในที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซล่าเซลล์มีผลกระทบน้อยกว่า

       – ไม่มีปัญหาเรื่อง เมื่อแผงสกปรกแล้วจะทำให้วงจรไหม้

       – ถ้าคุณมีที่เหลือเฟือ แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดี

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส

        – แผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพต่ำ

        – สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ

        – ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน เพราะมีพื้นที่จำกัด

        – การรับประกันสั้นกว่าชนิด ผลึกซิลิคอน

       ข้อดีของการรติดหลังคาโซลาร์รัฐบาลมีการสนับสนุนตั้งแต่ปี 2562 ในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน มีการอุดหนุนซื้อไฟคืนกรณีที่มีการผลิตไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากเกิน ซึ่งนโยบายปี 2564 เพิ่มอัตราการรับซื้อคืนเป็น 2.20 บาทต่อหน่วย จากเดิม 1.68 บาท/หน่วย ปัจจุบันเทคโนโลยีแผงโซลาร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในราคาที่ต่ำลง ทำให้ระบบหลังคาโซลาร์มีระยะเวลาการคุ้มทุนเร็วขึ้น คือภายใน 7-10 ปี โดยหลังจากจุดคุ้มทุนแล้วเจ้าของบ้านสามารถใช้ไฟฟ้าได้แบบฟรีๆ และจากสถานการณ์โควิด 19 หลายบริษัทมีนโยบาย Work From Home ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันเพิ่มมากขึ้น 30-50 เปอร์เซ็นต์ การติดหลังคาโซลาร์จึงนับว่าตอบโจทย์ และคุ้มค่าการลงทุน สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว ทำความรู้จักและเห็นประโยชน์ของการติดหลังคาโซลาร์แล้ว ลองพิจารณาดูว่าถึงเวลาที่จะติดหลังคาโซลาร์แล้วหรือยัง ถ้าคิดว่าจำเป็นแล้ว อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย เพื่อให้การติดหลังคาโซลาร์คุ้มค่ามากที่สุด

กดติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" หาบ้าน ที่ดิน คอนโด หอพัก ทั่วเมืองขอนแก่น
🏡🏡 ทั้งบ้านมือ1, มือ2 เพิ่มเติมได้ที่
⭕️ Website : www.NaYoo.co (ไม่มี m)‌‌
⭕️ Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่‌‌
⭕️ YouTube : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo