ขอบคุณภาพจาก ช่างไฟดอทคอม

ไฟฟ้าลัดวงจร คืออะไร !?

ไฟฟ้าลัดวงจร คือ เกิดจากสายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้มมาแตะกัน ทำให้วงจรสั้นลง ตรงจุดที่สายไฟแตะกันมีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านได้มากและ กระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนตรงจุดที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร สายไฟที่ใช้ในบ้านถ้าเก่ามากฉนวนหุ้ม สายไฟผุเปื่อยจนลวดตัวนำในสายไฟแต่ละเส้นแตะกันจะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดความร้อนสูงมากตรงจุดที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิด ไฟไหม้บ้าน  หรือถ้าเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียได้ สายไฟส่วนที่ไม่มีฉนวนหุ้ม เมื่อไม่แตะกันจะไม่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร แต่ถ้าเราไปจับหรือแตะสายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้ม จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและถ้ากระแสไฟฟ้าไหล ผ่านร่างกายลงสู่พื้นได้ อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้


ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากอะไร ?

1. ใช้คัตเอาต์ไฟฟ้าแบบเก่า

แม้ไฟฟ้าลัดวงจรไม่ได้มีสาเหตุโดยตรงมาจากการใช้คัตเอาต์แบบเก่า แต่คัตเอาต์ประเภทนี้จะตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อยกขึ้นลงด้วยมือ จึงไม่ตัดการทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยอย่างยิ่ง

2. ฉนวนสายไฟฉีกขาด

สายไฟทุกเส้นจะมีพลาสติกห่อหุ้มเป็นฉนวนเพื่อไม่ให้ลวดนำไฟฟ้าที่อยู่ภายในสัมผัสกันเองหรือไปสัมผัสกับสิ่งอื่น หากฉนวนสายไฟฉีกขาด ลวดนำไฟฟ้าอาจไปเสียดสีกับสายไฟหรือสื่อนำไฟฟ้าอื่นจนเกิดการลัดวงจรได้

3. เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด

เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดล้วนมีอายุการใช้งานจำกัด หากเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าเกินไป หรือมีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเกิดความผิดปกติจนวงจรไฟฟ้าเสียหาย สิ่งเหล่านี้ก็อาจนำไปสู่เหตุไฟฟ้าลัดวงจรและเพลิงลุกไหม้ได้ไม่ยาก

4. อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน

อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ ปลั๊กไฟ หรือปลั๊กราง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตลอดเวลา หากอุปกรณ์เหล่านี้ไม่มีระบบความปลอดภัยและมาตรฐานในการผลิตที่ดีพอ ก็อาจเกิดอาการปลั๊กไหม้ได้ง่าย ๆ

5. ใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง

การใช้ไฟฟ้าเกินกำลังเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น สายไฟเส้นเล็กเกินไป ใช้กระแสไฟผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้ามากเกินไป หรือมีการต่อปลั๊กพ่วงมากเกินไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ามากเกินรับไหว จนเกิดเป็นความร้อนและลัดวงจรได้ในที่สุด

ขอบคุณภาพจาก potatotechs.com

วิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

1. คอยตรวจเช็คสายไฟอยู่เสมอ

เมื่อพบเห็นสายไฟที่เริ่มเก่าหรือขาด ควรรีบเรียกช่างไฟ เพื่อทำการเปลี่ยนสายไฟใหม่ หรือทำการซ่อมแซมให้ใช้งานให้เป็นปกติ อย่างเร็วที่สุด

2. ตรวจสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า

หมั่นดูแลและตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า หากมีอาการผิดปกติ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานผิดปกติ มีกลิ่นไหม้ ควรเลิกใช้และเปลี่ยนในทันที

3. เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน

เมื่อจะทำการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ อย่ามองแต่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว ต้องสังเกตถึงอุปกรณ์ว่าได้รับมาตรอะไรบ้าง โดยเบื้องต้นจะต้องมี มอก. รวมถึงมีฟิวส์ที่ตัดกระแสไฟฟ้าในตัว

4. อย่าใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง

อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีความสามารถสูงสุดที่สามารถรับได้ ไม่ควรต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เกินวัตต์ ที่อุปกรณ์สามารถรับได้ รวมถึงสายไฟด้วย ถ้าหากภายในอาคารต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมากๆ การเดินสายไฟควรเดินสายไฟในขนาดที่สามารถรองรับการใช้งานได้

5. ติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ

ระบบตัดไฟเป็นระบบที่ช่วยป้องกันภัยที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อมีจุดที่กระแสไฟฟ้าเดินผิดปกติ ระบบจะทำการตัดระบบไฟฟ้าทันที และช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้เป็นอย่างดี

เมื่อเกิดไฟฟ้ารับวงจรแล้วต้องทำอย่างไร

สิ่งแรกที่ควรทำหลังจากที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร คือ ควรรีบตัดกระแสไฟฟ้าจากจุดที่เกิดการลัดวงจรในทันที ถ้าหากเกิดประกายไฟ ไม่ควรใช้นำสาดเข้าไปดับไฟโดยทันที เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าดูด และถ้าหากมีคนที่ถูกไฟดูดไม่ควรสัมผัสกับผู้ถูกไฟดูดโดยตรง ควรตัดกระแสไฟบริเวณดังกล่าวก่อน หรือถ้าหากตัดไฟไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ดึงรั้ง ผลักผู้ถูกไฟดูดออกมา

ขอบคุณภาพจาก safesiri

การต่อวงจรไฟฟ้าที่ถูกต้อง

ตามปกติวงจรไฟฟ้าใด ๆ จะมีความเปลี่ยนแปลงและคุณสมบัติต่อกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าแตกต่างกันไป ตามแต่ วิธีการต่อวงจรนั้น ๆ และตามการเปลี่ยนแปลงตัวต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั้นด้วย ซึ่งเรามีวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าได้ 3 แบบ คือ  
    1. การต่อแบบอนุกรม (Series Circuit)
    2. การต่อแบบขนาน (Parallel Circuit)
    3. การต่อแบบผสม (Compound Circuit)

ก่อนเริ่ม ต่อสายไฟฟ้า ควรพิจารณาอะไรบ้าง?

การต่อสายไฟหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน สิ่งสำคัญคือ การคำนึงถึงความปลอดภัยของงานระบบและการดำเนินงาน รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับตัววงจรภายในบ้าน โดยสิ่งที่นำมาพิจารณาก่อนเริ่มดำเนินงานคือ

  1. ตำแหน่งการติดตั้งเต้ารับ และสวิตช์ไฟฟ้า

ควรติดตั้งในจุดที่สูงมากกว่าระดับน้ำที่อาจท่วมได้ โดยเฉพาะบ้านที่มีประวัติเคยโดนน้ำท่วมมาก่อน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้า

2. วงจรสายไฟย่อยภายในบ้าน

ในกรณีที่เต้ารับของบ้านอยู่ระดับที่น้ำเคยท่วมถึง ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูดอย่างเครื่องตัดไฟรั่ว ที่มีขนาดไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์

3. การติดตั้งตู้เมนไฟฟ้า

ควรติดตั้งเอาไว้ในจุดที่สูงกว่าระดับที่น้ำอาจท่วมได้ เช่น ชั้น 2 ของบ้าน หรือชั้นลอย เพราะจะช่วยทำให้ตัดไฟได้ง่ายและป้องกันอัตรายจากไฟดูด

4. การเลือกใช้ สายไฟ สำหรับติดตั้งระบบไฟฟ้า

สุดท้ายแล้วก่อน ต่อสายไฟ ภายในบ้านด้วยตัวเอง ต้องเลือกชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับจุดที่ต้องการดำเนินงาน ซึ่งสายไฟแต่ละชนิดจะบอกประเภทของการใช้งานอย่างชัดเจน เช่น สายไฟชนิด VAF ต้องใช้เดินเกาะผนัง และเดินในช่องเดินสาย ห้ามร้อยท่อและห้ามฝังดิน ในขณะที่สายแบบ IV สามารถเดินสายลอยได้ แต่ต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก Home guru

การตรวจสอบระบบของการเดินสายไฟ

  • เช็กมิเตอร์ไฟฟ้า โดยจะต้องทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด แล้วดูว่ามิเตอร์มีการเคลื่อนไหวหรือไม่
  • เช็กตัวปลั๊กไฟด้วยไขควงไฟฟ้า ซึ่งหากมีไฟแสดงก็แสดงว่าปลั๊กปกติ แต่หากไม่แสดงผลแสดงว่าปลั๊กไม่มีวงจรไฟฟ้าไหลผ่าน
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเปิดการทำงานแล้วมีไฟฟ้าสถิตหรือไม่ หากมีแสดงว่ามีการรั่วของไฟภายในบ้าน และต้องให้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญมาตรวจเช็กให้ ห้ามเริ่มดำเนินการต่อระบบสายไฟเด็ดขาด
ขอบคุณภาพจาก พูนสิน เคเบิล

รวมบทความบ้านเเบบจัดเต็ม  คลิกเลย!!

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารดีๆที่จะช่วยตอบโจทย์ในการช่วยคุณที่พักอาศัย
กดติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" หาบ้าน ที่ดิน คอนโด หอพัก ทั่วเมืองขอนแก่น‌‌🏡🏡
ทั้งบ้านมือ1, มือ2 เพิ่มเติมได้ที่‌‌
⭕️ Website : www.nayoo.co (ไม่มี m)‌‌
⭕️ Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่‌‌
⭕️ YouTube : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo

อย่าพลาด โปรโมชั่นพิเศษ
หาที่อยู่ คิดถึง "ขอนแก่นน่าอยู่"
ใช้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย