คู่รัก LGBTQ+ ซื้อบ้านร่วมกันได้ไหม? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ปัจจุบันสังคมไทยของเราเปิดกว้างให้กับความหลากหลายทางเพศ หรือที่เรียกว่า LGBTQ+ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถวัดได้จากกระแสการออกมาพูดถึงเรื่องนี้ในวงกว้าง และมีสิทธิต่าง ๆ รองรับกลุ่ม LGBTQ+ เพิ่มขึ้น อย่างการกู้ร่วมซื้อที่อยู่อาศัย ก็สามารถให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถกู้ได้ รายละเอียดจะมีอะไรบ้างนั้น น้องพิษณุโลกน่าอยู่ก็ไม่พลาดที่จะนำสาระดี ๆ มาฝากกัน มาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ LGBTQ+ กันก่อนดีกว่าครับว่า LGBTQ+ ที่เราได้ยินหรือ เห็นกันบ่อย ๆ เนี่ย มีความหมายว่ายังไง

LGBTQ+ คืออะไร? ย่อมาจากอะไร?

  • L = Lesbian (เลสเบี้ยน) คือ ผู้หญิงกับผู้หญิงที่เป็นคู่รักกัน
  • G = Gay (เกย์) คือ คู่รักที่เป็นผู้ชายกับผู้ชาย
  • B = Bisexual (ไบเซ็กชวล) คือ ผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ที่มีความรักต่อทั้งเพศเดียวกัน และ ต่างเพศก็ได้
  • T = Transgender (ทรานส์เจนเดอร์) คือ คนที่เปลี่ยนแปลงเพศสภาพจากกำเนิดไปเป็นเพศอื่น
  • Q = Queer (เควียร์) = คนที่ไม่ระบุเพศสภาพของตัวเอง และ ไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ
  • + = เพศอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากด้านบนครับ

การกู้ร่วม คืออะไร?

การกู้ร่วม คือ การเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน โดยผู้ที่กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็น คู่สมรส, พ่อ/แม่, พี่น้อง หรือญาติ เท่านั้น โดยธนาคารจะเป็นฝ่ายกำหนดจำนวนผู้กู้ร่วมไว้กี่คนก็ได้ เช่น สามารถกู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน เป็นต้น และการที่ธนาคารจะเลือกอนุมัติสินเชื่อนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณารายได้ของแต่ละคนว่ามีกำลังในการผ่อนต่อเดือนแค่ไหน บวกกับวงเงินที่เราขอกู้ไปด้วย

ทำไมต้อง “กู้ร่วม”

เพราะการซื้อบ้าน 1 หลังนั้น นอกจากต้องมีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว จำเป็นต้องมีรายได้ที่มากพอด้วย ดังนั้นการกู้เพียงคนเดียว ทางสถาบันการเงินอาจอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้ไม่ถึงราคาบ้านที่ซื้อ ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถซื้อบ้านได้ คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะกู้ร่วม โดยนำเงินรายได้ของผู้กู้ร่วมมารวมกัน เพื่อให้เพียงพอตามเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินนั่นเอง

คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้ไหม?

หากเราต้องการขอสินเชื่อกู้ร่วม บุคคลที่จะมากู้ร่วมกับเราจะต้องมีสายเลือดเดียวกัน หรือเป็นคู่สามี ภรรยาที่จะจดทะเบียนสมรสแล้ว หรือยังไม่จดก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานว่าเป็นคู่รัก เช่น ภาพถ่ายงานแต่งงาน หรือ เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น

สำหรับสาเหตุที่คู่รัก LGBTQ+ ยังไม่สามารถกู้ร่วมได้นั้น มาจากไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ในทางนิตินัยได้นั่นเอง แต่เมื่อปี 2563 คณะรัฐมนตรีได้ผ่านร่าง พรบ.คู่ชีวิต ของ LGBTQ+ แล้ว และแม้จะยังไม่ได้ประกาศใช้จริง แต่ก็มีหลายสถาบันการเงินที่อนุมัติให้ LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมได้ โดยมีเงื่อนไขเหมือนกับการกู้ร่วมของคู่รักชาย-หญิง ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส คือต้องมีการยืนยันความสัมพันธ์ตามที่ทางธนาคารได้กำหนดไว้นั่นเอง

การกู้ร่วมสำหรับคู่รัก LGBTQ+

การคำนวณวงเงินการกู้ร่วม

การคำนวณวงเงินกู้ซื้อบ้านหรือคอนโด ทางสถาบันการเงินจะนำรายได้สุทธิ หรือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด ลบหนี้รายเดือนแล้วมาคำนวณ โดยปกติทางธนาคารจะคำนวณรายได้สุทธิของแต่ละบุคคลไว้ที่ประมาณ 60%-70%

ตัวอย่าง

  • ถ้ามีรายได้ 30,000 บาท รายได้สุทธิ 70% = 21,000 บาท
  • ลบด้วยหนี้สิน เช่น ค่าผ่อนสินค้าเดือนละ 5,000 บาท เหลือสุทธิ  = 16,000 บาท
  • เมื่อรวมกับผู้กู้ร่วม ในทางกฎหมายจะต้องรับผิดชอบหนี้ = 32,000 บาท เป็นส่วนเท่าๆ กัน จึงมีเงินเหลือสุทธิรวมสองคน

วิธีคำนวนยอดวงเงินกู้สินเชื่อบ้าน

  • ยอดผ่อนชำระหนี้สูงสุดต่อเดือน x 1,000,000 / 7,000 จะเท่ากับ (32,000 x 1,000,000)/7,000 = 4,571,428 ~ 4,500,000 บาท ดังนั้น วงเงินกู้สูงสุด (ที่เป็นไปได้คือ) ประมาณ 4,500,000 บาท

เอกสารกู้ซื้อบ้าน ที่ต้องเตรียมก่อนขอสินเชื่อบ้าน

ธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะมีการขอเอกสารสำหรับการยื่นขอสินเชื่อบ้านที่แตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้วเอกสารที่คุณต้องเตรียมสำหรับการขอสินเชื่อบ้าน จะประกอบไปด้วย

  • หนังสือรับรองเงินเดือน
  • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
  • สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
  • และมีเอกสารอื่นๆ ของผู้กู้ร่วม LGBTQ+ เช่น ต้องเปิดบัญชีร่วมกัน, ต้องเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกันของทางธนาคาร
  • รูปถ่ายงานมงคลสมรส (ถ้ามี)
  • รูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริงๆ
  • ทะเบียนบ้านที่มีชื่อทั้งสองคน เพื่อยืนยันว่าอาศัยอยู่ด้วยกันจริง
  • เอกสารในการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นร่วมกัน เช่น รถยนต์ (ถ้ามี)
  • เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน (ถ้ามี)
  • ต้องเซ็นในใบสมัครสินเชื่อบ้านว่ามีความสัมพันธ์เป็นคู่รักกับผู้กู้หลัก
  • กรรมสิทธิ์ในการกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQ+

เงื่อนไขการแบ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์ของคู่รัก LGBTQ+

คู่รัก LGBTQ+ ที่ทำการกู้ร่วมซื้อบ้าน มีเงื่อนไขการแบ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ 2 รูปแบบ คือ

  • ยื่นขอสินเชื่อกู้ร่วม แต่มีชื่อคนคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
  • ยื่นขอสินเชื่อกู้ร่วม และใส่ชื่อของผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

ในปัจจุบันสถาบันการเงินหลายแห่ง มักกำหนดเงื่อนไขสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่ต้องการกู้ซื้อบ้านร่วมกัน ว่าจะต้องเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้านแบบถือครองกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกันเท่านั้น

กู้ร่วมซื้อบ้าน แต่เลิกกันจะทำอย่างไรดี

ในกรณีที่คู่รัก LGBTQ+ ยื่นเรื่องกู้ร่วมซื้อบ้านแล้วแต่แยกทางกันในภายหลัง จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ และมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการด้วย เนื่องจากเป็นการกู้ร่วมแบบถือครองกรรมสิทธิ์บ้านร่วมกันนั่นเอง

เคล็ดลับการขอสินเชื่อบ้านง่ายๆ สำหรับคู่รัก LGBTQ+

  • เช็กสถาบันการเงินที่อนุมัติสินเชื่อบ้านให้กับกรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน
  • ตรวจเอกสารที่ใช้ขอสินเชื่อบ้าน สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน และเตรียมไว้ให้พร้อม
  • เลือกรูปแบบสินเชื่อที่ LGBTQ+ สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้

ทั้งนี้เพราะสถาบันการเงินบางแห่งแม้จะเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งแตกต่างไปตามข้อกำหนดของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ดังนั้น หากเป็นไปได้ เราแนะนำให้คุณเลือกพิจารณาสถาบันการเงินที่ให้ LGBTQ+ ขอสินเชื่อบ้านร่วมกันได้จะดีกว่า

สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่กำลังมองหาซื้อบ้านเดี่ยวอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชมโครงการบ้านใหม่พร้อมอยู่ได้ที่เว็บไซต์ พิษณุโลกน่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายบ้านเดี่ยว โครงการบ้านจัดสรร แนะนำโครงการใหม่พร้อมอยู่ทุกทำเล ตอบโจทย์การใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ที่คุณชอบ และยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการบ้านที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้อ่านกันอีกด้วย

สามารถติดตามพวกเราได้ที่

เฟซบุ๊ก : พิษณุโลกน่าอยู่

โทร : 063-1939253

บทความแนะนำ

ครบทุกเรื่องที่อยู่ของคนพิษณุโลก"พิษณุโลกน่าอยู่"

หาบ้าน ที่ดิน หอพัก บริษัทรับสร้างบ้าน ครบ จบ ในเว็บเดียว