พนักงานระดับซีเนียร์ (Senior Executive - Level)
ระดับซีเนียร์ (Senior Executive - Level)
เป็นพี่ใหญ่ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในนิยามที่ว่า "ผู้ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม" เพราะเป็นบุคคลที่รู้หน้าที่ รู้ว่าควรทำสิ่งใด ในช่วงเวลาใดเพื่อช่วยเเก้ปัญหาให้กับทีมได้ทันท่วงที แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่ได้มีความรู้ในด้านนั้นทั้งหมดก็ตาม
การเป็นซีเนียร์นั้นสิ่งสำคัญที่ต้องมีเพิ่มเติมขึ้นมาจากระดับปฏิบัติการ คือ "ความรับผิดชอบ" เเละที่สำคัญต้องผ่านการประเมินว่ามีทักษะเเละความสามารถของตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level) ครบทั้ง 3 ด้าน คือ Technical Skills, Leadership Skills เเละ Soft Side มาก่อนจึงจะสามารถขยับตำเเหน่งขึ้นมาเป็นซีเนียร์ ได้
ทักษะเเละความสามารถของตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level) ที่ต้องผ่านการประเมินมีรายละเอียดตาม : https://nayoo.co/khonkaen/blogs/nayoo-execution-level
ควรมีทักษะในการพัฒนางานของตน (Technical Skills) อย่างน้อย ดังนี้
- มีทักษะพื้นฐานในงานของตนเองไม่น้อยกว่าตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level)
- เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษา ชี้เเนะเเนวทางการทำงาน รวมถึงคอมเมนต์งานตามพื้นฐานเเละหลักการทางวิชาชีพที่ถูกต้องให้เเก่ผู้อื่นได้
ควรมีทักษะภาวะผู้นำที่ดี (Leadership Skills) อย่างน้อย ดังนี้
- ทำงานสอดคล้องกับ Core Value ขององค์กร เเละสร้าง Culture ที่ดี
- มีกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem solving) อย่างเป็นระบบ โดยการค้นหาสาเหตุของปัญหาและเสนอทางเลือกเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ พร้อมทั้งเลือกเเนวทางการเเก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดให้กับทีม
- สามารถพาทีมเข้าทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นได้เป็นอย่างดี เพื่อให้งานมีผลลัพธ์ที่ดีเเละสอดคล้องกับ OKRs (Collaboration and Cross-functional work)
- วิเคราะห์ สังเคราะห์ กลั่นกรองความรู้เเละบอกได้ว่าผลลัพธ์งานที่เกิดขึ้นมีข้อดี-ข้อเสียตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร รวมถึงมีผลกระทบเเละข้อควรระวังต่อหน่วยงานอื่นอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งเเชร์ความรู้นี้ไปยังบุคคลอื่นได้ (showing concern for success and well being)
ทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเเละการทำงานเป็นทีม (Softside) มีดังนี้
- เเนวคิดเเบบ Growth mindset เเละการวิเคราะห์ปัญหาเเบบ Why-Why Analysis
- การเปลี่ยนแปลงตัวเองผ่านการเรียนรู้ เพื่อให้เท่าทัน ด้วยการปรับความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง เรียกว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ “Lifelong Learning”
- เป็นตัวอย่างที่ดีในทุกเรื่องเเก่น้องๆ (Role Model) ทั้งการสอนเเบบการทำให้ดู และ เห็นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ(Passion)โดยตัวอย่างที่ดีตามหลัก Growth Mindset เช่น
- มีทัศนคติที่ดีกับองค์กร ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน
- มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร
- เป็นคนที่คิดบวกและสื่อสารเชิงบวก
- มีความเป็น Ownership สูง เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
- เป็นที่ปรึกษาที่ดี ดูแลช่วยเหลือผู้อื่น
- สอนงานคนอื่น แบ่งปันความรู้ (ไม่กั๊ก)
- เน้นการป้องกันแก้ไขที่ปัญหา มากกว่าการจับผิดเพ่งโทษ
- พัฒนาตัวเอง เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ พยายามเรียนรู้งานใหม่ๆ
- เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่และความคิดเห็นที่แตกต่าง
- ให้เกียรติผู้อื่นเสมอและให้ความสำคัญกับคำมั่นสัญญา
- กล้าพูดในสิ่งที่เป็นความจริง ตรงประเด็นแต่ไม่แรง
- เข้าใจในสถานการณ์บริษัทและ Key Success ของธุรกิจ
2. มีการรับเเละให้ Feedback อยู่เสมอ
รับเเละให้ Feedback ให้เป็นตามหลักการเพื่อช่วยให้ตัวเราเองเเละคนอื่นพัฒนายิ่งขึ้น
- เริ่มด้วยจุดแข็ง หรือ จุดดี
- เน้นที่ความคิด
- สะกิดให้พัฒนา
- ให้เวลารับฟัง
สำหรับพนักงานน่าอยู่ทุกระดับ สิ่งที่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร