ระดับปฏิบัติการ  (Execution - Level)

เป็นทีมเคลื่อนงานขององค์กร เปรียบสเมือนน็อตในเครื่องยนต์ที่เเม้จะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เเต่ถ้าหลุดหายไปจะทำให้เครื่องยนต์ใหญ่คือองค์กรสะดุดเเละหยุดลงได้

ควรมีทักษะในการพัฒนางานของตน (Technical Skills) อย่างน้อย ดังนี้

  1. มีทักษะพื้นฐานในงานของตนเอง สามารถใช้เครื่องมือที่ถนัดสร้างผลงานให้ได้คุณภาพภายใต้เเรงกดดันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยอาจยังมีผู้เเนะนำหรือไกด์ไลน์
  2. ส่งงานที่มีคุณภาพได้ครบในระยะเวลาที่กำหนดเเละสามารถปิดจบงานได้ด้วยตัวเอง

ควรมีทักษะภาวะผู้นำที่ดี (Leadership Skills) อย่างน้อย ดังนี้

  1. ทำงานสอดคล้องกับเเนวคิด customer centric ตาม Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Passion for customer
  2. ประเมินเเละมองผลกระทบของงานตนเองให้ครอบคลุมต่อผู้อื่นทั้งด้านดีเเละด้านร้ายก่อนเริ่มลงมือทำงาน พร้อมทั้งติดตามผลลัพธ์งานของตนเองจนสรุปได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็น Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Impact
  3. ตัดสินใจในการทำงานได้บางส่วนในระดับที่เหมาะสมตามสโคปงานที่ได้รับมอบหมายเเละมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง โดยไม่สร้างผลกระทบด้านลบต่อผู้อื่น ตาม Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Accountability

ทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเเละการทำงานเป็นทีม (Softside) มีดังนี้

1.เข้าใจการทำงานตามหลักเเนวคิดการเติบโต (Growth Mindset)

  • พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทาย
  • มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • เชื่อว่า ความสามารถต่าง ๆ เกิดขึ้นและพัฒนาได้จากการพยายามและฝึกฝน
  • มองว่าความล้มเหลวหรือความผิดพลาดเป็นสิ่งที่จะนำพาให้เราเติบโต
  • มีทัศนคติที่มองปัญหาจากตัวเองก่อนเสมอเเละพร้อมเปิดรับฟีดเเบ็กจากทุกคน
  • มีการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง พร้อมที่จะเรียนรู้หรือปรับปรุงเมื่อได้รับคำวิพากวิจารณ์ ตั้งใจฟังเเละคิดตามอย่างตั้งใจ
  • ทัศนคติที่เปิดรับ ไม่ต่อต้าน สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพร้อมที่จะพัฒนาความฉลาด ความสามารถ และทักษะด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน
  • รู้สึกได้รับแรงบันดาลใจจากผู้อื่น แทนที่จะรู้สึกว่าผู้อื่นกำลังคุกคามตนเอง อย่าหวาดหวั่นเมื่อเห็นผู้อื่นเเซงหน้าตนเองเเต่ให้เรียนรู้จากเขา

2. มีการวิเคราะห์เเละเเก้ไขปัญหาเชิง Why-Why Analysis ในการทำงานอยู่เสมอ

Why-Why Analysis เป็นหลักเเนวคิดชวนตั้งคำถามต่อการทำงานว่า “ทำไม” อยู่เสมอ  ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นของการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้ของปัญหาที่ทำให้เกิดการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” เเละทำให้เราเข้าใจได้อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ โดยไม่ให้เกิดการตกหล่นของสาเหตุของปัญหา  ซึ่ง Why-Why Analysis จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์เเละเเก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี

สำหรับพนักงานน่าอยู่ทุกระดับ สิ่งที่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร