บทบาท หน้าที่ เเละความรับผิดชอบของพนักงานน่าอยู่ ต่อการทำงานเเบบ Flat Organization

น่าอยู่เรามีพนักงานในหลากหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็นงานสายเทคโนโลยี งานขาย งานออกเเบบกราฟฟิก งานออกเเบบวิดีโอ งานเขียนคอนเทนต์ รวมถึงงานด้านการตลาด รูปเเบบการทำงานเราจึงมีหลากหลายปรับเปลี่ยนไปตามบริบทหน้างานที่เจอ เเต่ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานไหนสิ่งที่พนักงานน่าอยู่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร ที่พนักงานทุกคนยึดถือเเละใช้อ้างอิงในกระบวนการการตัดสินใจต่างๆ ภายในบริษัทอยู่เสมอ จะเรียกว่าเป็นดาวเหนือที่คอยช่วยนำทางให้กลับมาอยู่ในร่องในรอย ในช่วงที่เผลอไผลออกทะเลไปก็ว่าได้ โดย Core Value 3 อย่าง ของน่าอยู่ประกอบด้วย

  1. Passion for customer ทำงานโดยมองความพึงพอใจลูกค้าเป็นสำคัญอันดับหนึ่งในรูปแบบ customer centric  (ข้อระวัง : Customer คือ ไม่ใช่เเค่ลูกค้าเเต่คือคนที่ได้ประโยชน์หรือความเดือดร้อนจากผลลัพธ์งานของเรา)
  2. Impact .  ทำสิ่งที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีในวงกว้างต่อลูกค้า ตนเอง ทีม เเละบริษัท
    (ข้อระวัง : ให้มองผลกระทบต่อคนอื่นทั้งด้านดีเเละด้านลบ)
  3. Accountability กล้ารับปากเเละรับผิดชอบต่องานใหญ่ที่ได้รับมอบหมาย
    (ข้อระวัง : อย่ารับปากโดยที่ยังไม่ได้ประเมินผลกระทบรอบด้าน)

ดังนั้นการประเมินสมรรถนะของพนักงาน (Competency) จึงล้อตาม Core Value ขององค์กรเป็นหลักซึ่งเน้นในส่วนของทักษะเเละความสามารถใน 3 ด้าน คือ

  • ด้าน Technical Skills
  • ด้าน Leadership Skills
  • ด้าน Soft Side

โดยมีตัวชี้วัดการทำงานเเละรายงานผล (KAs) ในการทำงานเเต่ละวันสอดคล้องกันทั้ง OKRs ของตนเอง, OKRs  ทีม เเละ OKRs บริษัท

การทำงานเเบบ Flat Organization

ที่น่าอยู่เราออกแบบการทำงานภายในองค์กรให้พนักงานทุกคนอยู่ในระดับเดียวกันมากที่สุด หัวหน้าไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จจนเกินไป และทุกคนในองค์กรมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน  

การทำงานแบบนี้เราเรียกว่า "การทำงานเเบบ Flat Organization" รูปแบบการทำงานจะไม่มีบอสหรือหัวหน้าใหญ่ ที่เอาแต่นั่งอยู่บนสุด คอยคุมเข้มสั่งการ แต่หัวหน้าจะกลายมาเป็นคนที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกให้กับทีมมากกว่า

ข้อดีของการจัดการทำงานเเบบ Flat Organization คือ พนักงานจะมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองเเละได้รับการโปรโมทที่รวดเร็วขึ้น จากการสร้างผลงานออกมาได้ไวผ่านการมีอำนาจในการตัดสินใจในระดับที่เหมาะสม ไม่ต้องนั่งรอคอยผู้บริหารมาตัดสินใจเสมอไป ซึ่งจะทำให้ทั้งตัวพนักงานเเละทีมสามารถตัดสินใจได้เร็ว ปรับเปลี่ยนให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้ในทันที

สำหรับการโปรโมทพนักงานที่มีการทำงานเเบบ Flat Organization ในน่าอยู่  เราจะมีการวางรูปแบบการโปรโมทพนักงานตามความสามารถเเละศักยภาพไว้ตามลำดับขั้น (Level) โดยมีหัวข้อชี้วัดในการประเมิน Performance ดังนี้

หัวข้อที่ 1 ประเมินความสามารถด้านต่างๆ (Problem Solving)

1.1 การการคิดวิเคราะห์เเละแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

1.2 การคิดอย่างเป็นระบบเเละมีกลยุทธ์

1.3 การแก้ปัญหาในสภาวะวิกฤต


หัวข้อที่ 2 ภาวะความเป็นผู้นำ

2.1 มีความริเริ่ม และ แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ

2.2 สร้างแรงจูงใจ และ ให้คำแนะนำทีมได้

2.3 มีอิทธิพล หรือสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อทีม


หัวข้อที่ 3 การทำงานร่วมกันเเละความเข้ากันกับวัฒนธรรมขององค์กร

3.1 การทำงานเป็นทีม

3.2 การแบ่งปันเพื่อนร่วมงาน

3.3 การเปิดรับฟังผู้อื่น


หัวข้อที่ 4 การเป็นเเบบอย่างที่ดี

4.1 การสร้างแรงบันดาลใจด้วยตัวเอง มีความทะเยอทยาน

4.2 มุ่งการทำงานให้เสร็จเเละสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ( Get things done)

4.3 ความสนใจใฝ่รู้


หัวข้อที่ 5 ประเมินผลลัพธ์การทำงาน (Execution)

5.1 มีทักษะความสามารถทำงานจนได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายของทีม (Achivement)

5.2 การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนจนงานบรรลุเป้าหมาย (PDCA)

5.3 การติดตามของทีมจนบรรลุเป้าหมาย พร้อมสรุปัญหาเเละความสำเร็จได้

โดยพนักงานในเเต่ละระดับจะมีบทบาท หน้าที่ เเละความรับผิดชอบเเตกต่างกันตามสมรรถนะ (Competency) ของเเต่ละคนตามสโคปงานที่ได้รับมอบหมาย

ระดับปฏิบัติการ  (Execution - Level)

เป็นทีมเคลื่อนงานขององค์กร เปรียบสเมือนน็อตในเครื่องยนต์ที่เเม้จะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เเต่ถ้าหลุดหายไปจะทำให้เครื่องยนต์ใหญ่คือองค์กรสะดุดเเละหยุดลงได้

ควรมีทักษะในการพัฒนางานของตน (Technical Skills) อย่างน้อย ดังนี้

  1. มีทักษะพื้นฐานในงานของตนเอง สามารถใช้เครื่องมือที่ถนัดสร้างผลงานให้ได้คุณภาพภายใต้เเรงกดดันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยอาจยังมีผู้เเนะนำหรือไกด์ไลน์
  2. ส่งงานที่มีคุณภาพได้ครบในระยะเวลาที่กำหนดเเละสามารถปิดจบงานได้ด้วยตัวเอง

ควรมีทักษะภาวะผู้นำที่ดี (Leadership Skills) อย่างน้อย ดังนี้

  1. ทำงานสอดคล้องกับเเนวคิด customer centric ตาม Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Passion for customer
  2. ประเมินเเละมองผลกระทบของงานตนเองให้ครอบคลุมต่อผู้อื่นทั้งด้านดีเเละด้านร้ายก่อนเริ่มลงมือทำงาน พร้อมทั้งติดตามผลลัพธ์งานของตนเองจนสรุปได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็น Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Impact
  3. ตัดสินใจในการทำงานได้บางส่วนในระดับที่เหมาะสมตามสโคปงานที่ได้รับมอบหมายเเละมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง โดยไม่สร้างผลกระทบด้านลบต่อผู้อื่น ตาม Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Accountability

ทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเเละการทำงานเป็นทีม (Softside) มีดังนี้

1.เข้าใจการทำงานตามหลักเเนวคิดการเติบโต (Growth Mindset)

  • พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทาย
  • มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • เชื่อว่า ความสามารถต่าง ๆ เกิดขึ้นและพัฒนาได้จากการพยายามและฝึกฝน
  • มองว่าความล้มเหลวหรือความผิดพลาดเป็นสิ่งที่จะนำพาให้เราเติบโต
  • มีทัศนคติที่มองปัญหาจากตัวเองก่อนเสมอเเละพร้อมเปิดรับฟีดเเบ็กจากทุกคน
  • มีการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง พร้อมที่จะเรียนรู้หรือปรับปรุงเมื่อได้รับคำวิพากวิจารณ์ ตั้งใจฟังเเละคิดตามอย่างตั้งใจ
  • ทัศนคติที่เปิดรับ ไม่ต่อต้าน สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพร้อมที่จะพัฒนาความฉลาด ความสามารถ และทักษะด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน
  • รู้สึกได้รับแรงบันดาลใจจากผู้อื่น แทนที่จะรู้สึกว่าผู้อื่นกำลังคุกคามตนเอง อย่าหวาดหวั่นเมื่อเห็นผู้อื่นเเซงหน้าตนเองเเต่ให้เรียนรู้จากเขา

2. มีการวิเคราะห์เเละเเก้ไขปัญหาเชิง Why-Why Analysis ในการทำงานอยู่เสมอ

Why-Why Analysis เป็นหลักเเนวคิดชวนตั้งคำถามต่อการทำงานว่า “ทำไม” อยู่เสมอ  ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นของการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้ของปัญหาที่ทำให้เกิดการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” เเละทำให้เราเข้าใจได้อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ โดยไม่ให้เกิดการตกหล่นของสาเหตุของปัญหา  ซึ่ง Why-Why Analysis จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์เเละเเก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี

สำหรับพนักงานน่าอยู่ทุกระดับ สิ่งที่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร

ระดับซีเนียร์  (Senior Executive - Level)

เป็นพี่ใหญ่ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในนิยามที่ว่า "ผู้ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม" เพราะเป็นบุคคลที่รู้หน้าที่ รู้ว่าควรทำสิ่งใด ในช่วงเวลาใดเพื่อช่วยเเก้ปัญหาให้กับทีมได้ทันท่วงที  แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่ได้มีความรู้ในด้านนั้นทั้งหมดก็ตาม

การเป็นซีเนียร์นั้นสิ่งสำคัญที่ต้องมีเพิ่มเติมขึ้นมาจากระดับปฏิบัติการ คือ "ความรับผิดชอบ" เเละที่สำคัญต้องผ่านการประเมินว่ามีทักษะเเละความสามารถของตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level) ครบทั้ง  3 ด้าน คือ Technical Skills, Leadership Skills เเละ Soft Side  มาก่อนจึงจะสามารถขยับตำเเหน่งขึ้นมาเป็นซีเนียร์ ได้

ทักษะเเละความสามารถของตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level) ที่ต้องผ่านการประเมินมีรายละเอียดตาม : https://nayoo.co/khonkaen/blogs/nayoo-execution-level

ควรมีทักษะในการพัฒนางานของตน (Technical Skills) อย่างน้อย ดังนี้

  1. มีทักษะพื้นฐานในงานของตนเองไม่น้อยกว่าตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level)
  2. เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษา ชี้เเนะเเนวทางการทำงาน รวมถึงคอมเมนต์งานตามพื้นฐานเเละหลักการทางวิชาชีพที่ถูกต้องให้เเก่ผู้อื่นได้

ควรมีทักษะภาวะผู้นำที่ดี (Leadership Skills) อย่างน้อย ดังนี้

  1. ทำงานสอดคล้องกับ Core Value ขององค์กร เเละสร้าง Culture ที่ดี
  2. มีกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem solving) อย่างเป็นระบบ โดยการค้นหาสาเหตุของปัญหาและเสนอทางเลือกเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ พร้อมทั้งเลือกเเนวทางการเเก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดให้กับทีม
  3. สามารถพาทีมเข้าทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นได้เป็นอย่างดี เพื่อให้งานมีผลลัพธ์ที่ดีเเละสอดคล้องกับ OKRs  (Collaboration and Cross-functional work)
  4. วิเคราะห์ สังเคราะห์ กลั่นกรองความรู้เเละบอกได้ว่าผลลัพธ์งานที่เกิดขึ้นมีข้อดี-ข้อเสียตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร รวมถึงมีผลกระทบเเละข้อควรระวังต่อหน่วยงานอื่นอย่างไรบ้าง  พร้อมทั้งเเชร์ความรู้นี้ไปยังบุคคลอื่นได้ (showing concern for success)
  5. สร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข (well being)

ทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเเละการทำงานเป็นทีม (Softside) มีดังนี้

  1. เเนวคิดเเบบ Growth mindset เเละการวิเคราะห์ปัญหาเเบบ Why-Why Analysis
  2. การเปลี่ยนแปลงตัวเองผ่านการเรียนรู้ เพื่อให้เท่าทัน ด้วยการปรับความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง เรียกว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ “Lifelong Learning”
  3. เป็นตัวอย่างที่ดีในทุกเรื่องเเก่น้องๆ (Role  Model) ทั้งการสอนเเบบการทำให้ดู และ เห็นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ(Passion)โดยตัวอย่างที่ดีตามหลัก Growth Mindset เช่น
  4. มีทัศนคติที่ดีกับองค์กร ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน
  5. มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร
  6. เป็นคนที่คิดบวกและสื่อสารเชิงบวก
  7. มีความเป็น Ownership สูง เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
  8. เป็นที่ปรึกษาที่ดี ดูแลช่วยเหลือผู้อื่น
  9. สอนงานคนอื่น แบ่งปันความรู้ (ไม่กั๊ก)
  10. เน้นการป้องกันแก้ไขที่ปัญหา มากกว่าการจับผิดเพ่งโทษ
  11. พัฒนาตัวเอง เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ พยายามเรียนรู้งานใหม่ๆ
  12. เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่และความคิดเห็นที่แตกต่าง
  13. ให้เกียรติผู้อื่นเสมอและให้ความสำคัญกับคำมั่นสัญญา
  14. กล้าพูดในสิ่งที่เป็นความจริง ตรงประเด็นแต่ไม่แรง
  15. เข้าใจในสถานการณ์บริษัทและ Key Success ของธุรกิจ

2. มีการรับเเละให้ Feedback อยู่เสมอ

รับเเละให้ Feedback ให้เป็นตามหลักการเพื่อช่วยให้ตัวเราเองเเละคนอื่นพัฒนายิ่งขึ้น

  • ริ่มด้วยจุดแข็ง หรือ จุดดี
  • เน้นที่ความคิด
  • สะกิดให้พัฒนา
  • ให้เวลารับฟัง

สำหรับพนักงานน่าอยู่ทุกระดับ สิ่งที่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร