ปลายฝนต้นหนาว แต่พายุกลับเข้าไม่หยุด 🌨️ สำหรับใครที่กำลังกังวลใจ ว่าน้ำจะมาถึงบ้านเราไหม @บุรีรัมย์น่าอยู่ ชวนมาสำรวจบ้าน เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ #น้ำท่วม
💧แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1️⃣ ก่อนน้ำท่วมบ้าน
2️⃣ ระหว่างน้ำท่วมบ้าน
3️⃣ หลังน้ำท่วมบ้าน
จะมีแนวทางอย่างไรบ้างตามมาดูกันเลย ❗️
( #ก่อนน้ำท่วมบ้าน )
- ดูทิศทางน้ำและวางแผนกั้นน้ำ : สำหรับทำเลที่เคยเกิดน้ำท่วม ช่วงฝนตกหนักควรหมั่นดูทางน้ำ ติดตามข่าวสาร เพื่อเตรียมพร้อมการกั้นและเปลี่ยนทิศทางน้ำ โดยวัสดุที่แนะนำเช่น
- กระสอบทราย : กระสอบทรายเป็นวัสดุที่ง่ายต่อการหาซื้อ กั้นน้ำได้ดีเพิ่มระดับความสูงได้ แต่ยากต่อการขนย้ายและป้องกันได้แค่ในระยะแรกเท่านั้น หากแรงดันน้ำสูง อาจทำให้กำแพงกระสอบพังได้
- กำแพงกั้นน้ำ กำแพงกั้นน้ำมีหลายวัสดุมาก ทั้งอิฐ แผ่นเหล็ก แผ่นไม้ จนไปถึงพลาสติก แผ่นยาง และผ้าใบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและระดับน้ำ โดยวัสดุที่ประยุกต์ใช้ได้ง่ายคืออิฐมวลเบา อิฐมอญและอาจคลุมด้วยผ้าใบเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมผ่านก้อนอิฐ ทั้งนี้ประตูหน้าบ้านสามารถก่ออิฐขึ้นเป็นรูปตัวUเพื่อเป็นประตูหลักสำหรับเข้าและออกบ้าน
- ส่วนภายในบ้านควรมีการอุดบริเวณที่รั่วซึม อาจใช้ดินน้ำมัน โพลียูริเทน เทปบิวทิล ปิดตามช่องหรือรูรั่ว บริเวณประตูและหน้าต่าง รวมไปถึงการต่อท่อpvcให้สูงขึ้นจากท่อระบายน้ำในห้องน้ำ เพื่อป้องกันน้ำผุดขึ้น เมื่อน้ำจากภายนอกสูงกว่าภายในบ้าน
2.จัดการระบบไฟฟ้าและสุขาภิบาล : ไฟฟ้าเป็นสิ่งอันตรายที่ควรรีบจัดการเพื่อไม่ให้มีคนในครอบครัว โดนกระแสไฟที่อาจรั่วไหลได้ ควรมีการหาจุกยางหรือฝาครอบสวิตซ์และปิดด้วยเทปหรือโพลิยูรีเทนเพื่อป้องกันน้ำเข้าปลั๊กไฟภายในบ้าน และควรขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ที่สูง หากปลั๊กไฟอยู่ต่ำและใกล้กับระดับน้ำ ควรสับสวิตซ์เพื่อปิดกระแสไฟทั้งหมดภายในบ้าน และในส่วนของระบบสุขาภิบาลควรมีการทำส้วมใหม่เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มาตามน้ำมา โดยสามารถอุจจาระหรือปัสสาวะผ่านส้วมเฉพาะกิจ เพียงเจาะรูเก้าอี้และยึดถุงดำไว้ เมื่อเสร็จธุระสามารถมัดปากถุงและนำไปทิ้งได้
( #ระหว่างน้ำท่วมบ้าน )
3.ปั้มระบายน้ำ : หากน้ำขึ้นสูงและเริ่มเข้ามาในบ้าน ต้องเข้าสู่กระบวนการระบายน้ำออกจากบ้าน ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้ปั้มน้ำหรือเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำที่รั่วจากการกั้นกำแพงออกไปนอกบริเวณบ้าน แต่วิธีนี้อาจต้องคำนวณการใช้ไฟใหม่เพราะการใช้ปั้มน้ำอัตโนมัติจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง และหากใช้ปั้มจุ่มก็จะมีค่าใช้จ่ายเรื่องบ่อพักน้ำเพิ่มเข้ามาด้วย
4.หาดินน้ำมัน ฝากรองหรืออุปกรณ์ปิดตามท่อต่างๆภายในบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำและสัตว์มีพิษที่มาตามน้ำหลุดรอดเข้ามาภายในบ้าน หากจำเป็นต้องระบายน้ำออกผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ควรมีตะแกรงที่มีรูขนาดเล็กปิดช่องทางนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษหรือสิ่งสกปรกไปอุดตันปั้ม และท่อระบายน้ำ
( #หลังน้ำท่วมบ้าน )
5.วางแผนป้องกันน้ำใหม่ : เมื่อเกิดน้ำท่วมครั้งแรก แสดงว่าทำเลหรือชัยภูมิบ้านเราต่ำกว่าทางถนนและทางเดินน้ำ อาจวางแผนในการดีดบ้านขึ้น หรือถมที่ให้สูงขึ้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ยั่งยืนกว่าการป้องกันเบื้องต้น หากงบไม่เพียงพออาจพิจารณาเป็นการสร้างเนินเล็กๆหลังประตูบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าภายในพื้นที่บ้านได้
6.สังเกตหลังคาและระบบรางน้ำว่ามีการลาดเอียงเพียงพอต่อการไหลของน้ำฝนหรือไหม หากลาดเอียงไม่พอก็จะทำให้เกิดการรั้วซึมได้ และหลังคาแบบเหลี่ยมหรือดาดฟ้าก็ควรมีท่อระบายน้ำเนื่องจากไม่สามารถถ่ายเทน้ำฝนออกจากหลังคาได้ หากบ้านไหนที่มีปัญหาหลังคาหรือหลังคาเกิดการรั่วซึมไปจนถึงฝ้า ควรพิจารณาเปลี่ยนระบบหลังคาเพื่อไม่ให้เกิดโอกาส น้ำซึมเข้าบ้าน ในส่วนของผนังควรรอให้ผนังและระบายความชื้นก่อนทาสีใหม่ และควรมาน้ำยาเคลือบป้องกันเชื้อราและคราบสกปรก
แต่นี้ก็สามารถรับมือกับปัญหาน้ำถ้วมได้อย่างเป็นขั้นตอนแล้ว
บุรีรัมย์น่าอยู่ | 𝐁𝐮𝐫𝐢𝐫𝐚𝐦 𝐧𝐚𝐲𝐨𝐨 รวมทุกเรื่องที่อยู่ของคนบุรีรัมย์
อย่าลืมกดติดตาม "บุรีรัมย์น่าอยู่" เพื่อ หาบ้านมือ 1, บ้านมือ 2, ที่ดิน รวมถึงหาเช่า/หอพักทั่วเมืองบุรีรัมย์เพิ่มเติมได้ที่
Website : www.NaYoo.co (ไม่มี m)
Facebook : บุรีรัมย์น่าอยู่
Instagram : บุรีรัมย์น่าอยู่
ติดต่อ | contact : 092-254-1846 / 080-010-4116
Line official : @buriramnayoo