JD : OKR Champion

OKRs Champion อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์กร เช่น OKRs Expert, OKRs Hero, OKRs Master เป็นต้น  เป็นตำเเหน่งที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง OKRs เป็นอย่างดี เป็นศูนย์กลางที่ขับเคลื่อนการใช้ OKRs ขององค์กร และเมื่อคนในองค์กรมีปัญหาหรือมีคำถามก็จะวิ่งไปหาคนๆ นี้

รูปแบบโครงสร้างการใช้ OKRs

บทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ของ OKR Champion

บทบาทความรับผิดชอบของ OKRs Champion จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ นั่นคือ Alignment, Progress Review และ Score Review

การกระจายภาพการทำงานที่สอดคล้องกับ OKRs ของบริษัท

Alignment

เป็นการทำหน้าที่กระจายภาพการทำงานที่สอดคล้องกับ OKRs ของบริษัท (OKRs Cascading) ไปยังทีมทำงาน เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกัน รวมถึงการกระจายภาพการทำงานในแนวนอนระหว่างทีมที่เป็นลักษณะ Cross-functional เพื่อให้แต่ละทีมตั้งและทำตาม OKRs ไปอย่างสอดคล้องกันทั้งองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในการกระจาย OKRs ขององค์กร จาก 1 Objective จะแตกเป็น Key Results ข้อต่างๆ ที่มีหลายแผนกมาร่วมกันทำให้ Key Results เหล่านั้นสำเร็จ สมมติว่าหนึ่งใน Key Result ที่แตกมาจาก OKRs ขององค์กร คือ ‘ทำยอดขายให้ได้ 20 ล้านบาท’ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีแผนกไหนที่เกี่ยวข้องกับ Key Result นี้บ้าง? แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละแผนกนำเป้านี้ไปเขียน OKRs ต่ออย่างสอดคล้องกับเป้าของบริษัท?

การกระจายการทำงานในแนวนอนระหว่างทีม (Cross-functional)

OKRs Champion จะคอยช่วยดูว่าทีมไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง และแต่ละแผนกเขียน OKRs ได้อย่างสอดคล้องกับ OKRs ของบริษัทหรือไม่

Progress Review เป็นการรายงานการทำ OKRs ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเเต่ละคน

Progress Review

OKRs ไม่ใช่แค่การตั้งแล้วหายไป หลังจากที่ทำการ Setup และปฏิบัติงานกันมาแล้ว ก็ยังต้องมีการมา Check-in และมารีวิวความคืบหน้าว่าทำตาม OKRs ได้มากน้อยแค่ไหน

ตัวอย่างการทำ Progress Review

OKRs Champion จะคอยช่วยดูว่าทีมไหนมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร ได้ผลลัพธ์สอดคล้องกับ OKRs ของบริษัทหรือไม่ รวมถึงดูถึงระดับความมั่นใจว่าพนักงานเเต่ละคนจะทำตาม OKRs ได้อย่างสำเร็จลุล่วงได้มากน้อยแค่ไหน อะไรบ้างที่เป็นอุปสรรค แล้วมีอะไรที่เราจะทำเพื่อพัฒนาให้สำเร็จตาม OKRs ได้มากขึ้น

Score Review เป็นการประเมินความสำเร็จของ OKRs ในเเต่ละเดือน ไตรมาส เเละปี

Score Review

สุดท้ายเมื่อสิ้นไตรมาส ก็จะมารีวิว Score ของ OKRs ว่าทำได้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ และประเมินถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดไตรมาสที่ผ่านมาเพื่อนำไปพัฒนา OKRs ในไตรมาสถัดไป

ตัวอย่างการประเมินผลลัพธ์เเละรีวิว Score เบื้องต้นของ OKRs

OKRs Champion จะต้องเป็นคนประเมินผลลัพธ์เเละรีวิว Score เบื้องต้นของ OKRs ของพนักงานเเต่ละคนเพื่อสรุปรวม ปัญหา อุปสรรค เเละเเนวทางเเก้ไข  เพื่อให้ข้อมูลเเก้การวางกลยุทธ์ OKRs ของบริษัท รวมถึงเป็นข้อมูลในการทำ Performance Review ของพนักงานในเเต่ละคน

วัตถุประสงค์หลักตำแหน่ง (Primary objectives) ของ OKR Champion

  1. ทำหน้าที่กระจายภาพการทำงานที่สอดคล้องกับ OKRs ของบริษัท (OKRs Cascading) ไปยังทีมทำงาน เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกัน รวมถึงการกระจายภาพการทำงานในแนวนอนระหว่างทีมที่เป็นลักษณะ Cross-functional เพื่อให้แต่ละทีมตั้งและทำตาม OKRs ไปอย่างสอดคล้องกันทั้งองค์กร ที่สอดคล้องตามบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ในหัวข้อ Alignment
  2. ให้คำปรึกษา เเละช่วยเหลือการตั้ง OKRs รายทีมเเละรายบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับ OKRs ของบริษัท ที่สอดคล้องตามบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ในหัวข้อ Alignment
  3. ให้คำปรึกษา เเละช่วยเหลือในการเเก้ไขปัญหาเบื้องต้นเเก่พนักงานในเเต่ละทีมให้สามารถทำงานให้สอดคล้องกับ OKRs ของบริษัท ที่สอดคล้องตามบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ในหัวข้อ Alignment
  4. จัดให้เกิดการทำ OKRs Check-in เพื่อเช็คผลลัพธ์เเละความสอดคล้องของ OKRs ในพนักงานเเต่ละคน รวมถึงดูถึงระดับความมั่นใจว่าพนักงานเเต่ละคนจะทำตาม OKRs ได้อย่างสำเร็จลุล่วงแค่ไหน อะไรบ้างที่เป็นอุปสรรค แล้วมีอะไรที่เราจะทำเพื่อพัฒนาให้สำเร็จตาม OKRs ได้มากขึ้น ผ่านการทำ  Daily Check-in , Weekly Check-in และ Monthly Check-in ที่สอดคล้องตามบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ในหัวข้อ Progress Review
  5. จัดให้เกิดการทำการประเมินผลลัพธ์เเละรีวิว Score ของ OKRs ของพนักงาน พร้อมทั้งสรุปรีวิว Score เบื้องต้น รวมทั้งปัญหา อุปสรรค เเละเเนวทางเเก้ไข  เพื่อให้ข้อมูลเเก้การวางกลยุทธ์ OKRs ของบริษัท รวมถึงเป็นข้อมูลในการทำ Performance Review ของพนักงานในเเต่ละคน ผ่านการทำ  Daily Check-in , Weekly Check-in และ Monthly Check-in ที่สอดคล้องตามบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ในหัวข้อ Score Review
  6. เรียนรู้ ทดลอง และทดสอบเครื่องมือใหม่ๆ ที่ช่วยให้พนักงานในเเต่ละทีมให้สามารถทำงานให้สอดคล้องกับ OKRs ของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น โดยสอดคล้องตามบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ของตนเอง
  7. มีหน้าดูแลงานด้านเอกสาร การดูเเลนักศึกษาฝึกงาน การจองห้องประชุม ประสานงานการบริการเดินทางและที่พัก ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสำนักงาน ติดต่อนัดหมายแขกภายในและภายนอก ต้อนรับผู้เข้าพบในเบื้องต้น ตามความสอดคล้องของบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ของตนเอง
  8. ช่วยงานโครงการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ตามความสอดคล้องของบทบาทเเละหน้าที่ (Scope of the role) ของตนเอง

ความรับผิดชอบหลัก (Key Accountabilities) ของ OKR Champion

1.ผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Key Result Areas: KRAs)

  • มีความสามารถเหมาะสมในตำเเหน่งทั้ง Technical Skills, Leader Skills เเละ Soft Side โดยมีตัวชี้วัดการทำงานเเละรายงานผล (KAs) ในการทำงานเเต่ละวันสอดคล้องกับ OKRs ของตนเอง, ทีม เเละบริษัท

2. กิจกรรมหลัก (Major Activities)

  • ปฏิบัติงานตามวิธีการทำงาน และกฎระเบียบ โดยเคร่งครัด และดูแลตนเองให้เกิดความปลอดภัย
  • เสนอแนะสิ่งที่ไม่ปลอดภัย/วิธีการ /มาตรฐาน การทำงาน ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดการปรับปรุง
  • ร่วมและเสนอแนะในการวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยง และเสนอมาตรการกำหนดแผนงานมาตรการควบคุม ปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานต่างๆ
  • มีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรม Daily Check-in , Weekly Check-in และ Monthly Check-in หรือกิจกรรมอื่นๆ ของบริษัท อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  • มีความรับผิดชอบต่องานที่ให้ผลลัพธ์ตาม Core Competency ในเเต่ละระดับ
  • ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

ผู้บังคับบัญชา (Reports to)

  1. ผู้บังคับบัญชาโดยตรง(Direct) : Chief Operating Officer (COO)
  • โดยอ้อม (Indirect) : Chief Executive Officer (CEO)
ความรับผิดชอบเเละผลลัพธ์ที่คาดหวังตาม Core Competency

สำหรับพนักงานน่าอยู่ทุกระดับ สิ่งที่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร