ปั๊มน้ำเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสาธารณูปโภคหลักภายในบ้านให้กระจายไปได้อย่างทั่วถึง ทั้งสำหรับการดื่มกิน การนำไปใช้ ซึ่งการเลือกปั๊มน้ำให้เหมาะสมกับครัวเรือนก็มีความซับซ้อนมากกว่าที่ตาเห็นมากนัก

ทำไมการเลือกปั๊มจึงยาก ? แค่เลือกที่ดูหน้าตาใช้ได้ก็พอไม่ใช่หรือ ? แน่นอนว่าความคิดนี้อาจแวบเข้ามา แต่รู้หรือไม่ว่ามีคนไม่น้อยต้องเผชิญกับเหตุการณ์น้ำไหลเบาหรือไหลไม่ทั่วถึงเนื่องจากปั๊มน้ำทำงานได้ไม่เพียงพอ จนถึงท่อน้ำเสียหายเนื่องจากปั๊มแรงเกินไป และนี่คือวิธีการเลือกปั๊มน้ำและชนิดของปั๊มน้ำที่คุณควรรู้ก่อนจะซื้อปั๊ม

ปั๊มน้ำแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร

ปั๊มน้ำนั้นมีหลายรูปแบบและหลายแบรนด์ให้เลือกซื้อ ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็จะมีดีไซน์และเทคโนโลยีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร รูปแบบที่ได้รับความนิยมก็มักจะเป็น 4 รูปแบบหลักนี้เสมอ ซึ่งก็คือปั๊มแรงดันอากาศ (ถังกลม) ปั๊มแรงดันคงที่ (ถังเหลี่ยม) และปั๊มอินเวอร์เตอร์

  • ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ขนาดของปั๊มน้ำอัตโนมัติมีตั้งแต่ 100-400 วัตต์ บ้านที่มีสมาชิก 2-3 คน ควรเลือกใช้ ปั๊มน้ำสำหรับ 100–150 วัตต์ ในขณะที่บ้านเดี่ยวหลังใหญ่ ควรเลือกใช้แบบ 400 วัตต์ ปัจจุบันจะมีปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบพิเศษ ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า

สนใจสินค้าปั๊มน้ำอัตโนมัติจาก SCG Home คลิกเลย https://bit.ly/3ktVo8l

  • ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ มีคุณสมบัติคล้ายปั๊มแบบอัตโนมัติ แต่การใช้งานแตกต่างกันตรงที่ต้องเปิดและปิดสวิทช์ หรือเสียบปลั๊กและถอดปลั๊กใช้งานด้วยตัวเอง ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในตลาด เพราะเจ้าของบ้านส่วนใหญ่จะนิยมแบบอัตโนมัติไปมากกว่า
  • ปั๊มหอยโข่ง เหมาะกับการดึงน้ำมาเก็บใส่ถัง เช่นในการฟาร์มเกษตร หรือดึงน้ำขึ้นไปใช้บนอาคารสูงๆ อย่างสำนักงานหรือออฟฟิศ ด้วยคุณสมบัติปั๊มหอยโข่งจะมีแรงม้าสูง มี 1 แรงม้า 2 แรงม้า แต่ไม่เป็นระบบอัตโนมัติ ตัวนี้เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่องนาน ๆ

สนใจสินค้าปั๊มน้ำหอยโข่งจาก SCG Home คลิกเลย https://bit.ly/3R0GyCn

  • ปั๊มน้ำอินเวอร์เตอร์ มีการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์มาช่วยควบคุมการทำงาน สามารถควบคุมการหมุนของมอเตอร์ได้ตามปริมาณการใช้น้ำจริง ทำให้สามารถควบคุมการจ่ายน้ำได้ดี ประหยัดไฟ การจ่ายน้ำแรงสม่ำเสมอ สามารถจ่ายน้ำได้ทั่วบ้าน แต่มีข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าปั๊มน้ำแบบอื่น 2-3 เท่าตัว

สนใจสินค้าปั๊มน้ำอินเวอร์เตอร์จาก SCG Home คลิกเลย https://bit.ly/3wisE54

เลือกปั๊มให้เหมาะกับการใช้งาน

การเลือกปั๊มน้ำให้เหมาะกับการใช้งานจะช่วยประหยัดค่าน้ำได้ โดยคำนวณจากสมาชิกในบ้าน เช่น บ้านแบบทาวเฮาส์ 2 ชั้น อาจมีห้องน้ำ

2-3 ห้อง อาจเลือกใช้ปั๊มขนาด 100-150 วัตต์ก็เพียงพอ สำหรับบ้านเดี่ยวแนะนำให้ใช้ปั๊มขนาด 200–250 วัตต์ ซึ่งจะทำให้เปิดน้ำใช้พร้อมกันได้ถึง 5-6 จุด โดยไม่มีปัญหา

  • บ้านที่ไม่เกิน 2 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 2 จุด ควรใช้ปั๊มน้ำที่มีขนาดแรงดัน 100 วัตต์
  • บ้านไม่เกิน 2 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 2 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง เลือกใช้ปั๊มน้ำที่มีขนาดแรงดัน 150 วัตต์
  • บ้านไม่เกิน 3 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 2 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง เลือกใช้ปั๊มน้ำที่มีขนาดแรงดัน 200 วัตต์
  • บ้านไม่เกิน 4 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 3 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง เลือกใช้ปั๊มน้ำที่มีขนาดแรงดัน 250 วัตต์
  • บ้านไม่เกิน 4 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 3 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 2 เครื่อง เลือกใช้ปั๊มน้ำที่มีขนาดแรงดัน 300 วัตต์

ตำแหน่งการติดตั้งปั๊มน้ำ

  • ควรติดตั้งให้ห่างจากจุดที่ผู้คนอยู่อาศัยระดับหนึ่ง เนื่องจากปั๊มน้ำบางรุ่นนั้นมีเสียงดัง อาจก่อให้เกิดเสียงรบกวนในชีวิตประจำวันได้
  • ควรติดตั้งปั๊มในที่ร่ม หลีกเลี่ยงการติดตั้งปั๊มกลางแจ้ง เพื่อยืดอายุการใช้งาน การเจอแดด ฝน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อาจทำให้เกิดความชื้นในปั๊ม ชิ้นส่วนในปั๊มสึกหรอได้ง่าย
  • หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องติดตั้งปั๊มภายนอกบ้าน ควรมีการทำหลังคาครอบปั๊มไว้อีก 1 ชั้น เพื่อลดการสัมผัสน้ำฝน แสงแดดและความชื้นของปั๊มน้ำ

วัสดุปั๊มน้ำสำคัญมาก

การเลือกปั๊มน้ำควรพิจารณาวัสดุเป็นส่วนสำคัญด้วย ควรเลือกใช้มอเตอร์ปั๊มน้ำที่อึดและทน แนะนำให้เลือกแบบอะลูมิเนียม ซึ่งมีความแข็งแรงและระบายความร้อนได้ดี และควรเลือกแบบที่มีพัดลมระบายอากาศ ช่วยระบายความร้อน เพื่อยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การเลือกปั๊มเพื่อใช้ในครัวเรือนในปัจจุบันยังคงใช้รูปแบบของที่อยู่อาศัย การส่งน้ำที่มีความต่อเนื่อง เพื่อทำให้การทำงานของปั๊มน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยใหม่นี้การคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น เสียงรบกวน ดีไซน์ของปั๊มน้ำยังถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้อีกด้วย

สนใจบริกการติดตั้งหรือเปลี่ยนปั๊มน้ำจาก SCG Home คลิกเลย https://bit.ly/3ZJJ18n  

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ