อากาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวันนี้อยู่ในระดับที่อันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะสภาพอากาศที่ความเข้มข้นของสภาพมลพิษเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงต้องไม่เกิน 100 ส่วนในพันล้านส่วน เมื่อเกินก็จะทำให้มีผลต่อการทำลายเยื่อบุระบบทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง และทำให้เกิดโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ
ฝุ่นละออง
ปกติแล้วในชั้นบรรยากาศของเราจะประกอบไปด้วยก๊าซและสารต่าง ๆ เช่น ก๊าซออกซิเจน หรือไนโตรเจน ฝุ่นละออง ไอน้ำ ซึ่งสารเหล่านี้จะมีอยู่ในปริมาณคงที่และพอเหมาะ แต่เมื่อมีพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การขับขี่ยานพาหนะ การก่อสร้าง การทำโรงงานอุตสาหกรรม ที่มักจะปล่อยของเสียสู่ชั้นบรรยากาศตลอดเวลา เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสาร CFCs เป็นต้น ทำให้สารข้างต้นในชั้นบรรยากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง นำมาสู่ปัญหาภาวะโลกร้อน และอากาศที่ไม่บริสุทธิ์
ที่ผ่านมาเราอาจไม่ได้ตระหนักถึงภัยจากมลพิษเท่าที่ควร เนื่องจากปกติเราก็ไม่ได้เห็นด้วยตาเปล่า หรือรับรู้กันสักเท่าไรนักว่าก๊าซไนโตรเจนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเท่าไหน อีกทั้งยังไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน แต่เมื่อ 2-3 ปีก่อน เมื่อมีการกล่าวถึง PM 2.5 เพิ่มขึ้นและผู้คนเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติในร่างกาย เช่น คอแห้ง เจ็บคอ หรือแสบตา เราจึงเริ่มหันมาสนใจกันมากขึ้นว่า ขณะนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งนับเป็นภัยรูปแบบใหม่ที่ส่งผลอันตรายกว่าที่เราคิด
PM2.5 คืออะไร?
PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่น ๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ
อันตรายที่เกิดจากฝุ่น
ระดับความอันตรายของฝุ่นนั้น ขนาดอนุภาคของฝุ่นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน นั่นคือ หากฝุ่นมีอนุภาคขนาดใหญ่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อผิวกาย แต่หากฝุ่นนั้นมีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนแล้ว จะสามารถผ่านการกรองของขนจมูกเข้าไปสะสมตัว ในระบบทางเดินหายใจ และถ้าฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กกว่านั้นและมีสารพิษเป็นองค์ประกอบด้วยแล้ว จะสามารถทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ หรือส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของปอดได้
สนใจบริการทำความสะอาดบ้านจากคิวช่าง ( Q-Chang ) คลิกเลย https://bit.ly/3GYrvV5
แนวทางการป้องกันภัยร้ายใกล้ตัวอย่างง่าย
ความรุนแรงของมลพิษทางอากาศ เป็นภัยอย่างหนึ่งที่ควบคุมได้ยาก เนื่องจากฝุ่นพิษเหล่านี้ล่องลอยอยู่ในอากาศเป็นบริเวณกว้าง แม้แต่ฝนตกก็ไม่สามารถชะล้างปัญหานี้ให้หมดไปได้ ทางเดียวที่เราทำได้คือป้องกันและรับมือกับมลพิษทางอากาศด้วยตัวเอง ด้วยการ ลดการปล่อยอากาศเสียสู่ภายนอก เช่น
- ลดการเผาไหม้ที่ทำให้เกิดเขม่าควัน
- ใช้สารเคมีในครัวเรือนให้น้อยลง
- ลดการใช้รถยนต์ หันไปใช้ขนส่งสาธารณะ
- กำจัดขยะให้ถูกวิธี
เครื่องฟอกอากาศ เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี เพราะใช้เทคโนโลยี Streamer ที่ปล่อยประจุพลาสม่าด้วยอิเล็คตรอนความเร็วสูง และสามารถฟอกอากาศได้ถึง 6 ขั้นตอน ไม่ให้สิ่งเจือปนในอากาศเล็ดลอดเข้ามา ทั้งจากไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งจะช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ เหมาะกับคนป่วยโรคภูมิแพ้หรือระบบทางเดินหายใจ
ที่สำคัญ เครื่องฟอกอากาศไดกิ้นมีรุ่นที่สามารถตรวจจับฝุ่นได้ถึง 6 ระดับ รวมถึงฝุ่น PM 2.5 ดังนั้นการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไดกิ้นจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากโรคร้ายต่าง ๆ
สนใจบริการทำความสะอาดบ้านจากคิวช่าง ( Q-Chang ) คลิกเลย https://bit.ly/3GYrvV5
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- 10 ช่องต้องปิด! ต่อเติมบ้านจุดไหนเพื่อป้องกันสัตว์เข้าบ้าน
- หน้าฝนระวังบ้านพัง!
- ความสำคัญของการล้างบ่อดักไขมัน
- ไฟฟ้าลัดวงจรป้องกันยังไง?
- เชื้อโรคแฝงในห้องน้ำ