เมืองไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน ทำให้ภูมิอากาศของบ้านเรามีลักษณะเป็นร้อนชื้น เอาแน่เอานอนไม่ได้ บางวันก็ร้อนจัด บางวันก็ฝนตกหนัก “กันสาด” เลยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่หลายคนมองหามาติดไว้ ในบริเวณทางเข้าประตูบ้าน ระเบียงบ้าน หรือที่จอดรถ เพื่อป้องกันฝนสาดและไม่ให้แสงแดดเข้ามามากเกินไปวันนี้ขอนแก่นน่าอยู่จะมาแนะนำประเภทของกันสาดว่ามีกี่ประเภท พร้อมวัสดุที่ควรเลือกใช้ในการสร้าง

ก่อนอื่นที่เพื่อนๆจะติดตั้งหรือต่อเติมกันสาด สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงพื้นที่ของตัวบ้าน การเลือกรูปแบบของกันสาดให้เหมาะกับพื้นที่ รวมถึงการเลือกวัสดุที่นำมาใช้ทำกันสาดให้สามารถป้องกันแดดเเละฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน ไม่เปลืองงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมหรือต้องเปลี่ยนใหม่ ให้เพื่อนเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

กันสาดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ

  • กันสาดที่มาพร้อมโครงสร้างบ้าน กันสาดแบบนี้จะถูกออกแบบให้มีดีไซน์ที่รองรับกับตัวบ้าน จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรักษามาก แต่รูปแบบการใช้งานอาจจะไม่สามารถยืดหยุ่นได้หรือปรับใช้ตามความต้องการเราได้
  • กันสาดแบบ Built–in เป็นกันสาดที่นำมาติดตั้งเพิ่มภายหลัง มีให้เลือกหลายรูปแบบ รื้อถอนติดตั้งง่าย และราคาไม่สูงมากนัก ทำให้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ แต่โครงการจะไม่ได้มีความแข็งแรงเท่าไร เนื่องจากเหมาะสำหรับการใช้งานที่ไม่ได้ยาวนาน

วัสดุกันสาดที่ได้รับความนิยม

ข้อสำคัญในการเลือกวัสดุเพื่อให้กันสาดนั้นเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานของเพื่อน ๆ ก่อนอื่นต้องคำนึงถึงพื้นที่บ้าน ต้องการให้บริเวณที่กันสาดอยู่นั้นเป็นพื้นที่ทึบหรือโปร่งแสง จากนั้นจึงเลือกประเภทของวัสดุทำกันสาดให้เหมาะสม ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถทำความรู้จักวัสดุทำกันสาดในท้องตลาดว่ามีประเภทใดบ้าง มีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไร ถึงจะนำมาตัดสินใจเริ่มก่อสร้างกัน

  • วัสดุเมทัลชีท จากแผ่นเมทัลชีทสู่หลังคาเมทัลชีท วัสดุประเภทนี้ผลิตจากแผ่นเหล็กบางที่เคลือบสารกันสนิม มีคุณสมบัติทนทาน ดัดโค้งและขึ้นลอนง่าย และใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานทั้งภายในและภายนอก
  • วัสดุไวนิล ข้อดีคือมักจะเป็นแบบสำเร็จรูป มีให้เลือกหลากหลายแบบ หาซื้อได้ง่าย ติดตั้งง่าย ราคาถูก และดูดซับเสียงได้ดี ลดการเกิดเสียงดังรบกวนเวลาฝนตก
  • วัสดุซีเมนต์ ต้องผ่านการออกแบบอย่างดีเพื่อให้รองรับกับโครงสร้างของบ้าน เหมาะกับบ้านปูนซีเมนต์ทั้งหลัง โดยสร้างขึ้นในขณะที่ก่อสร้างบ้าน จัดเป็นกันสาดที่แข็งแรง ทนทาน ทั้งแดดและฝน แถมไม่ต้องห่วงเรื่องของดีไซน์ว่าจะขัดกับแบบบ้าน นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
  • วัสดุไม้ นับว่าเป็นที่นิยมอันดับหนึ่ง โดยมากมักเป็นกันสาดที่ออกแบบติดมาพร้อมกับตัวบ้าน หรือจะใช้ต่อเติมกับบ้านไม้ก็ยังได้ แต่มีข้อเสียคือมีราคาค่อนข้างสูง อีกทั้งดูแลรักษายาก เนื่องจาก วัสดุไม้จะไวต่อความชื้น ทำให้เกิดเชื้อรา บวม ผุพังง่าย หรือ กลายเป็นอาหารของปลวกไปเสียก่อน

ข้อสำคัญของปัญหากันสาดในช่วงหน้าฝน

ในช่วงหน้าฝน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากันสาดที่เราสร้างขึ้นมานั้น มีประโยชน์อย่างมากในการปกป้องเราจากน้ำฝน ลม และไอเย็น จึงทำให้เพื่อน ๆ ควรคำนึงถึงการเลือกติดตั้งรางน้ำ เพราะการระบายน้ำจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นด้านล่าง หรือส่งผลกระทบเสียหายบริเวณโดยรอบ การดีไซน์รางน้ำก็เช่นกัน ไม่ว่าจะซ่อนหรือไม่ ต้องดูแลทำความสะอาดรางน้ำให้สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรก ใบไม้หรือกิ่งไม้มาขวางทางน้ำซึ่งจะลดคุณภาพการระบายน้ำลงได้

ต่อเติมกันสาดบ้านให้ถูกกฎหมาย

การต่อเติมกันสาดบ้านจะต้องเว้นระยะจากชายคา จนถึงแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร หากมีการเปลี่ยนแปลงส่วนอื่นนอกจากโครงสร้างอาคารด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิมหรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องยื่นเรื่องขออนุญาตการเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม

สนใจบริการติดตั้งกันสาดจากคิวช่าง คลิกเลย https://bit.ly/3WyXkJU

วิธีดูแลรักษากันสาดให้ดูกับเราไปนาน ๆ

เนื่องจากวัสดุกันสาดของแต่ละบ้านมีความแตกต่างกันและรูปแบบของกันสาดในแต่ละบ้านก็ไม่มีเหมือนกัน ขอนแก่นน่าอยู่ขอแนะนำว่า เพื่อน ๆ ควรที่จะเช็คกันสาดในบริเวณที่มีการไหลผ่านของน้ำ ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ รวมถึงการตรวจเช็คโครงสร้างของที่เป็นที่แบกรับหลังคาว่ามีปัญหารอยร้าว อาจจะส่งผลให้เกิดการพังของหลังคาได้ ข้อสังเกตเบื้องต้นนี้ถ้ามีการเช็คตลอดจะทำให้กันสาดอยู่กับเพื่อน ๆ ไปนาน

หากเพื่อน ๆ รู้แบบนี้แล้ว บ้านหนึ่งหลัง ควรที่จะลงทุนติดกันสาดแบบไหน สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจกันได้ตามความชอบและงบในกระเป๋าของแต่ละคนได้เลย แต่อย่าลืมคำนึงถึงพื้นที่รอบตรวจบ้านเป็นสำคัญด้วย รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการสร้างกันสาดว่าเหมาะสมกับตัวบ้านของเพื่อน ๆ รึเปล่า

ให้ คิวช่าง ( Q-Chang ) เว็บไซต์ศูนย์รวมช่างคุณภาพครบวงจรช่วยคุณ สนใจบริการติดตั้งกันสาดจากคิวช่าง คลิกเลย https://bit.ly/3WyXkJU

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ