วิธีคิดค่าลดหย่อนภาษีพร้อมตัวอย่าง ฉบับเข้าใจง่าย อัปเดทปี 2568
รู้หรือไม่? หากเราวางแผนค่าลดหย่อนภาษีให้ดี สามารถช่วยประหยัดเงินและมีเงินเก็บออมได้มากขึ้นเลยนะครับ แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าเราสามารถลดหย่อนได้อย่างไรบ้าง และมีวิธีคำนวณรายการลดหย่อนภาษีอย่างไร ดังนั้น ในวันนี้น้องน่าอยู่จะพาทุกคนไปดูวิธีคิดค่าลดหย่อนภาษีพร้อมตัวอย่าง ฉบับเข้าใจง่ายกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยครับ
คำนวณภาษีกับรายได้
ก่อนที่เราจะไปดูวิธีคิดค่าลดหย่อนภาษี เราต้องรู้ก่อนว่าเรามีเงินได้เท่าไหร่และจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าไหร่ เพื่อที่จะขอลดหย่อนภาษีได้อย่างครอบคลุมนั่นเอง ซึ่งฐานการเสียภาษีเงินได้จะขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิต่อปีของแต่ละคน ดังนี้ครับ
จากตารางจะเห็นได้ว่าหากเรามีรายได้สุทธิต่อปีมากกว่า 150,000 บาท และไม่ได้มีค่าลดหย่อนจะต้องเสียภาษีค่อนข้างเยอะ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนภาษีและรู้จักคิดค่าลดหย่อนภาษีให้ดี เพื่อที่จะช่วยประหยัดภาษีลงไปได้อีก เพราะฉะนั้นเราไปทำความรู้จักการหักลดหย่อนภาษีกันต่อเลยครับ
ค่าอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง
ในการคิดค่าลดหย่อนภาษี เราต้องศึกษาก่อนว่าค่าอะไรสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง เพื่อจะได้เตรียมเอกสารให้พร้อมสำหรับการยื่นภาษี และคำนวณภาษีให้ครอบคลุม โดยรายการลดหย่อนภาษีพื้นฐาน มีดังนี้ครับ
ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
เราสามารถลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัวได้ โดยมีรายละเอียดค่าลดหย่อนภาษี ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว คืนภาษีจำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส คืนภาษีจำนวน 60,000 บาท โดยต้องจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องและคู่สมรสเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร คืนภาษีสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คืนภาษีคนละ 30,000 บาท (ในกรณีที่ลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนี้ จะสามารถลดหย่อนลูกได้ คนละ 60,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส คืนภาษีจำนวนคนละ 30,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ คืนภาษีจำนวนคนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทและต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ
ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน
ประกันชีวิตนอกจากจะช่วยคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายของสุขภาพแล้ว ยังสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียดค่าลดหย่อนภาษี ดังนี้
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ คืนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง คืนภาษีไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา คืนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ คืนภาษีไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
ใครที่สนใจเรื่องการลงทุน แนะนำให้ซื้อกองทุนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยมีรายละเอียดค่าลดหย่อนภาษี ดังนี้
- กองทุนประกันสังคม คืนภาษีไม่เกิน 9,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คืนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน คืนภาษีไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) คืนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) คืนภาษีไม่เกิน 30,000 บาท และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค
เงินบริจาคต่าง ๆ ที่เราช่วยเหลือผู้อื่น สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยมีรายละเอียดค่าลดหย่อนภาษี ดังนี้
- เงินบริจาคทั่วไป คืนภาษีไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ คืนภาษีลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่คืนภาษีไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคพรรคการเมือง คืนภาษีไม่เกิน 10,000 บาท
ลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ
ในแต่ละปีภาครัฐจะมีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยมีรายละเอียดค่าลดหย่อนภาษี ดังนี้
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ใครที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนคืนภาษีภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
- โครงการ Easy E-Receipt 2567 สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ขอคืนภาษีสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
ตัวอย่างคิดค่าลดหย่อนภาษี กรณีโสด
หลังเรียนรู้ไปแล้วว่าค่าลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นและเข้าใจง่ายมากขึ้น เราไปดูตัวอย่างวิธีคิดค่าลดหย่อนภาษีกันเลยครับ โดยเริ่มจากกรณีโสดกันก่อนเลย
ยกตัวอย่างกรณีโสด
น้องน่าอยู่มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท มีรายได้ต่อปี 600,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในฐานเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษี 15% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 90,000 บาท
เมื่อน้องน่าอยู่คิดค่าลดหย่อนภาษี พบว่าน้องน่าอยู่มีรายการที่ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม จำนวน 8,400 บาท (เดือนละ700บาท)
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 30,000 บาท (เดือนละ 2,500บาท)
- ค่าลดหย่อนกองทุน RMF 30,000 บาท (ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2,000 บาท (น้องน่าอยู่บริจาคเพื่อการศึกษา 1,000บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน10%ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน จำนวน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนโครงการ Easy E-Receipt 2,000 บาท
รวมรายการที่ลดหย่อนภาษีทั้งหมด 232,400 บาท
ดังนั้นน้องน่าอยู่มีรายได้ต่อปี = 600,000 - 232,400 = 367,600 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 36,760 บาท
ยกตัวอย่างกรณีโสด ลดหย่อนบิดามารดา
น้องน่าอยู่มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท มีรายได้ต่อปี 600,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในฐานเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษี 15% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 90,000 บาท แต่น้องน่าอยู่มีพ่อและแม่อายุ 60 ปีขึ้นไป และทั้งคู่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี สามารถลดหย่อนพ่อแม่ได้
เมื่อน้องน่าอยู่คิดค่าลดหย่อนภาษี พบว่าน้องน่าอยู่มีรายการที่ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา จำนวน 60,000 บาท (ลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม จำนวน 8,400 บาท (เดือนละ700บาท)
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 30,000 บาท (เดือนละ 2,500บาท)
- ค่าลดหย่อนกองทุน RMF 30,000 บาท (ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2,000 บาท (น้องน่าอยู่บริจาคเพื่อการศึกษา 1,000บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน10%ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน จำนวน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนโครงการ Easy E-Receipt 2,000 บาท
รวมรายการที่ลดหย่อนภาษีทั้งหมด 292,400 บาท
ดังนั้นน้องน่าอยู่มีรายได้ต่อปี = 600,000 - 292,400 = 307,600 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 30,760 บาท
ยกตัวอย่างกรณีโสด ลดหย่อนอุปการะผู้พิการ
น้องน่าอยู่มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท มีรายได้ต่อปี 600,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในฐานเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษี 15% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 90,000 บาท แต่น้องน่าอยู่อุปการะผู้พิการ โดยผู้พิการมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทและมีบัตรประจำตัวคนพิการ
เมื่อน้องน่าอยู่คิดค่าลดหย่อนภาษี พบว่าน้องน่าอยู่มีรายการที่ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม จำนวน 8,400 บาท (เดือนละ700บาท)
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 30,000 บาท (เดือนละ 2,500บาท)
- ค่าลดหย่อนกองทุน RMF 30,000 บาท (ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2,000 บาท (น้องน่าอยู่บริจาคเพื่อการศึกษา 1,000บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน10%ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน จำนวน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนโครงการ Easy E-Receipt 2,000 บาท
รวมรายการที่ลดหย่อนภาษีทั้งหมด 292,400 บาท
ดังนั้นน้องน่าอยู่มีรายได้ต่อปี = 600,000 - 292,400 = 307,600 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 30,760 บาท
ตัวอย่างคิดค่าลดหย่อนภาษี กรณีมีคู่สมรส
หลังเรียนรู้ค่าลดหย่อนภาษี กรณีโสดกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าค่าลดหย่อนภาษีช่วยเราประหยัดภาษีไปได้เยอะเลยใช่มั้ยล่ะครับ ต่อไปเราไปดูตัวอย่างการคิดค่าลดหย่อน กรณีมีคู่สมรสกันบ้างดีกว่าครับ
ยกตัวอย่างกรณีมีคู่สมรส ลดหย่อนคู่สมรสไม่มีรายได้
น้องน่าอยู่มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท มีรายได้ต่อปี 600,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในฐานเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษี 15% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 90,000 บาท แต่น้องน่าอยู่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องและคู่สมรสเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้
เมื่อน้องน่าอยู่คิดค่าลดหย่อนภาษี พบว่าน้องน่าอยู่มีรายการที่ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม จำนวน 8,400 บาท (เดือนละ700บาท)
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 30,000 บาท (เดือนละ 2,500บาท)
- ค่าลดหย่อนกองทุน RMF 30,000 บาท (ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2,000 บาท (น้องน่าอยู่บริจาคเพื่อการศึกษา 1,000บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน10%ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน จำนวน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนโครงการ Easy E-Receipt 2,000 บาท
รวมรายการที่ลดหย่อนภาษีทั้งหมด 292,400 บาท
ดังนั้นน้องน่าอยู่มีรายได้ต่อปี = 600,000 - 292,400 = 307,600 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 30,760 บาท
ยกตัวอย่างกรณีมีคู่สมรส(คู่สมรสมีรายได้) ลดหย่อนบิดามารดาของตัวเองและคู่สมรส
น้องน่าอยู่มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท มีรายได้ต่อปี 600,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในฐานเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษี 15% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 90,000 บาท คู่สมรสมีรายได้ แต่บิดามารดาของตัวเองและคู่สมรส อายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี สามารถลดหย่อนพ่อแม่ได้
เมื่อน้องน่าอยู่คิดค่าลดหย่อนภาษี พบว่าน้องน่าอยู่มีรายการที่ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา จำนวน 120,000 บาท (ลดหย่อนบิดามารดาของตัวเองและคู่สมรส คนละ 30,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม จำนวน 8,400 บาท (เดือนละ700บาท)
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 30,000 บาท (เดือนละ 2,500บาท)
- ค่าลดหย่อนกองทุน RMF 30,000 บาท (ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2,000 บาท (น้องน่าอยู่บริจาคเพื่อการศึกษา 1,000บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน10%ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน จำนวน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนโครงการ Easy E-Receipt 2,000 บาท
รวมรายการที่ลดหย่อนภาษีทั้งหมด 352,400 บาท
ดังนั้นน้องน่าอยู่มีรายได้ต่อปี = 600,000 - 352,400 = 247,600 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้ 150,001 - 300,000 บาท อัตราภาษี 5% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 12,380 บาท
ยกตัวอย่างกรณีมีคู่สมรส(คู่สมรสมีรายได้) ลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร
น้องน่าอยู่มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท มีรายได้ต่อปี 600,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในฐานเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษี 15% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 90,000 บาท แต่น้องน่าอยู่ได้มีการฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนบุตรได้
เมื่อน้องน่าอยู่คิดค่าลดหย่อนภาษี พบว่าน้องน่าอยู่มีรายการที่ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม จำนวน 8,400 บาท (เดือนละ700บาท)
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 30,000 บาท (เดือนละ 2,500บาท)
- ค่าลดหย่อนกองทุน RMF 30,000 บาท (ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2,000 บาท (น้องน่าอยู่บริจาคเพื่อการศึกษา 1,000บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน10%ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน จำนวน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนโครงการ Easy E-Receipt 2,000 บาท
รวมรายการที่ลดหย่อนภาษีทั้งหมด 292,400 บาท
ดังนั้นน้องน่าอยู่มีรายได้ต่อปี = 600,000 - 292,400 = 307,600 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 30,760 บาท
ยกตัวอย่างกรณีมีคู่สมรส(คู่สมรสมีรายได้) ลดหย่อนบุตร
น้องน่าอยู่มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท มีรายได้ต่อปี 600,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในฐานเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษี 15% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 90,000 บาท แต่น้องน่าอยู่มีบุตร 3 คน และบุตรคนสุดท้ายเกิดหลังปีพ.ศ. 2561 สามารถลดหย่อนบุตรได้
เมื่อน้องน่าอยู่คิดค่าลดหย่อนภาษี พบว่าน้องน่าอยู่มีรายการที่ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตร จำนวน 120,000 บาท (ลดหย่อนบุตร 3 คน ได้แก่ 2คนแรก คนละ 30,000 บาท และคนสุดท้ายเกิดหลังปี พ.ศ. 2561 ลดหย่อนบุตรได้ 60,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม จำนวน 8,400 บาท (เดือนละ700บาท)
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 30,000 บาท (เดือนละ 2,500บาท)
- ค่าลดหย่อนกองทุน RMF 30,000 บาท (ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2,000 บาท (น้องน่าอยู่บริจาคเพื่อการศึกษา 1,000บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน10%ของรายได้)
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน จำนวน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนโครงการ Easy E-Receipt 2,000 บาท
รวมรายการที่ลดหย่อนภาษีทั้งหมด 352,400 บาท
ดังนั้นน้องน่าอยู่มีรายได้ต่อปี = 600,000 - 352,400 = 247,600 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้ 150,001 - 300,000 บาท อัตราภาษี 5% ทำให้น้องน่าอยู่ต้องเสียภาษี 12,380 บาท
เมื่อเราศึกษารายละเอียดค่าลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว ใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนขอคืนภาษี สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ ยื่นภาษี 2568 ขอคืนภาษีอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ได้เลยครับ
บทสรุป
จบกันไปแล้วกับการพาทุกคนไปดูวิธีคิดค่าลดหย่อนภาษีพร้อมตัวอย่าง ฉบับเข้าใจง่ายที่น้องน่าอยู่นำมาฝากทุกคนกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษี จะนำไปปรับใช้เป็นแนวทางกันได้นะครับ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ทุกคนอย่าลืมศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนก่อนลดหย่อนภาษีและยื่นภาษีกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อบ้านเดี่ยวและคอนโดอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชมโครงการบ้านใหม่พร้อมอยู่ และโครงการคอนโดได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายบ้านเดี่ยว โครงการบ้านจัดสรรและคอนโด
บทความแนะนำ
- มาวางแผนภาษีกันเถอะ! เคล็ดลับทำยังไงให้มีเงินเก็บ
- วิธีเช็คภาษีย้อนหลัง ทำยังไง ต้องเสียค่าปรับไหม?
- รู้หรือไม่? ขายบ้านเก่า ซื้อบ้านใหม่ ขอคืนภาษีได้ด้วยนะ
ติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อไปหาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดินและหาเช่า/ กดหอพักทั่วเมืองขอนแก่นได้ที่สามารถพบได้ที่นี่
- เว็บไซต์ : www.NaYoo.co (ไม่มี m)
- Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่
- ยูทูป : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo