บ้านเป็นทรัพย์สินที่คู่รักหลายคู่ต่างใฝ่ฝัน อยากมีบ้านสักหลังด้วยกัน เพื่อแสดงถึงความมั่นคง และวางแผนสร้างครอบครัวด้วยกันในอนาคต แต่การจะซื้อบ้านสักหลังก็มีความเสี่ยง ดังนั้น การกู้ร่วมซื้อบ้านจึงเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ของใครหลายคน ซึ่งการกู้ร่วมซื้อบ้านก็มีรายละเอียดมากมายที่ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจผ่อนบ้าน
ดังนั้นในบทความนี้น้องน่าอยู่จะพาทุกคนไปคำนวณเงินกู้บ้านง่าย ๆ พร้อมเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ร่วมซื้อบ้านกัน ว่ากู้บ้านร่วมกับแฟน มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ข้อดีและข้อควรระวังในการกู้บ้านร่วมกับแฟน รวมไปถึงเอกสารที่ต้องใช้ในการกู้บ้านร่วมกับแฟน ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลยครับ
กู้บ้านร่วมกับแฟน มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนเลยครับว่ากู้บ้านร่วมกับแฟน มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ซึ่งการกู้บ้านร่วมกับแฟนต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการกู้ ดังนี้
- ผู้ขอสินเชื่อและคุณสมบัติผู้กู้ร่วมต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยสามารถเลือกระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุด 40 ปี แต่เมื่อนำอายุของผู้ขอรวมกับระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่อแล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี
- เป็นคู่รักที่จดทะเบียนสมรสร่วมกัน
- ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีหลักฐานยืนยันการแต่งงาน เช่น ภาพถ่าย
- ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีบุตรร่วมกัน (หนังสือรับรองบุตร)
สรุปได้ว่ากู้บ้านร่วมกับแฟน สามารถทำได้ทั้งกรณีจดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรส เพียงแค่ต้องมีหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ หากเป็นแฟนกันแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ จะไม่สามารถทำการขอกู้ร่วมซื้อบ้านได้นะครับ
สำหรับคู่รัก LQBTQIAN+ ก็สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นกัน โดยสามารถศึกษารายละเอียดสินเชื่อกันต่อที่ สินเชื่อกู้ร่วม LQBTQIAN+ อัปเดตปี2567 ได้เลยครับ
ข้อดีในการกู้บ้านร่วมกับแฟน
เมื่อเราเรียนรู้ถึงเงื่อนไขในการกู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟนกันไปแล้ว ต่อมาเราไปดูกันเลยครับว่าข้อดีในการกู้บ้านร่วมกับแฟนมีอะไรบ้าง เผื่อใครที่กำลังลังเลในการผ่อนบ้านกับแฟนจะตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง
ข้อดีในการกู้บ้านร่วมกับแฟน คือ มีโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และอาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะธนาคารจะคำนวณเงินกู้บ้านโดยถือว่าการมีผู้มากู้ร่วมซื้อบ้านด้วยจะเพิ่มความสามารถในการผ่อนชำระมากขึ้น รวมถึงเป็นการกระจายความเสี่ยง และเพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้มีโอกาสที่จะยินยอมอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และได้วงเงินเพิ่มมากขึ้น
การกู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟน จึงเหมาะสำหรับคนที่สถานะทางการเงินไม่เพียงพอที่จะรับผิดชอบหนี้สิน มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี หรือคำนวณเงินกู้บ้านแล้วยังมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะผ่อนบ้าน การกู้บ้านร่วมกับแฟนจึงถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคู่รักที่ต้องการมีบ้านร่วมกันครับ
ข้อควรระวังในการกู้บ้านร่วมกับแฟน
เมื่อเรียนรู้เกี่ยวกับข้อดีในการกู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟนกันไปแล้ว ต่อมาเราไปดูข้อควรระวังในการกู้บ้านร่วมกับแฟนกันบ้างดีกว่าครับ เพราะการกู้บ้านมีรายละเอียดที่เราควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ ซึ่งข้อควรระวังในการกู้บ้านร่วมกับแฟน มีดังนี้
- ผู้กู้ร่วมซื้อบ้านต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ อีกคนหนึ่งก็ต้องรับหน้าที่จ่ายในส่วนนั้นด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น และหากอยากขอถอนรายชื่อจากการเป็นผู้กู้ร่วมก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ เนื่องจากทางธนาคารจะทำการตรวจสอบใหม่อีกครั้งว่าผู้กู้คนที่เหลือมีความสามารถในการผ่อนชำระเพียงพอหรือไม่ หากคุณสมบัติไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้
- การขายบ้านต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย การขายบ้านที่กู้ร่วม มักจะเกิดในกรณีที่คู่รักหย่าร้าง หรือเลิกรากัน หากต้องการขายบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จะต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย ซึ่งอาจเกิดเหตุการณ์ที่คนหนึ่งอยากขายบ้านแต่อีกคนหนึ่งไม่ยินยอม ทำให้การขายต้องถูกยืดระยะเวลาออกไป หรืออาจไปจนถึงการฟ้องร้องกัน แนะนำว่าให้ตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนกู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟนนะครับ
สำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกู้บ้านร่วมกับแฟน สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ อยากกู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟนจำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสหรือไม่? ได้เลยครับ
เอกสารที่ต้องใช้ในการกู้บ้านร่วมกับแฟน
เพื่อให้การกู้บ้านร่วมกับแฟนเป็นไปอย่างราบรื่น เราควรคำนวณเงินกู้บ้านเบื้องต้น เพื่อจะได้วางแผนการเงินว่าบ้านที่เราต้องการซื้อ เราต้องจ่ายค่าผ่อนชำระต่อเดือนเท่าไหร่ เราควรมีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนกี่บาท โดยสามารถลองคำนวณเงินกู้บ้านได้ในเว็บไซต์น่าอยู่เลยครับ
สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการคำนวณเงินกู้บ้านแบบละเอียด สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ คำนวณเงินกู้บ้านง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์น่าอยู่ ด้วยโปรแกรมคำนวณสินเชื่อ ได้เลยครับ
นอกจากนี้ อย่าลืมเตรียมเอกสารการกู้ร่วมซื้อบ้านให้เรียบร้อย โดยเอกสารที่ใช้ในการกู้บ้านร่วมกับแฟน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- เอกสารข้อมูลส่วนตัว
- บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล (หากมี)
- เอกสารหลักประกัน (ตามที่สถาบันทางการเงินกำหนด)
2. เอกสารยืนยันสถานะคู่สมรส
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้กู้ร่วม (แฟน / คู่สมรส)
- สำเนาใบเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล (หากมี)
- สำเนาทะเบียนสมรส
- หนังสือรับรองบุตร
3. เอกสารแสดงรายได้
3.1 กรณีอาชีพประจำ
- หนังสือรับรองเงินเดือน / หนังสือรับรองสิทธิสวัสดิการ
- สลิปเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน
- Statement เงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมฉบับจริง)
3.2 กรณีอาชีพอิสระ
- Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมฉบับจริง)
- สำเนาทะเบียนการค้า / ทะเบียนพาณิชย์ / ทะเบียนบริษัท / ทะเบียนนิติบุคคล
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
- ภาพถ่ายกิจการ 3 – 4 ใบ
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
- สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าสั่งซื้อสินค้า
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)
บทสรุป
จบกันไปแล้วกับพาทุกคนไปคำนวณเงินกู้บ้าน พร้อมเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการกู้บ้านร่วมกับแฟนที่น้องน่าอยู่นำมาฝากทุกคนกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังวางแผนกู้ร่วมซื้อบ้านจะมีความเข้าใจและนำข้อมูลไปเป็นแนวทางกันได้นะครับ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ทุกคนอย่าลืมติดต่อสอบถามธนาคารโดยตรงก่อนทำการกู้บ้านกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อบ้านเดี่ยวและคอนโดอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชมโครงการบ้านใหม่พร้อมอยู่ และโครงการคอนโดได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายบ้านเดี่ยว โครงการบ้านจัดสรรและคอนโด
บทความแนะนำ
- รวมวิธีเช็คเครดิตบูโร ง่ายและสะดวกสุด ๆ
- รวมเทคนิคผ่อนบ้านอย่างไรให้”เสียดอกเบี้ยน้อย”
- สินเชื่อโฉนดที่ดินคืออะไร ข้อควรรู้ก่อนยื่นกู้
- อาชีพอิสระต้องอ่าน! คำนวณเงินกู้บ้าน เงินเดือนเท่าไหร่กู้ได้
อ้างอิง
ติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อไปหาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดินและหาเช่า/ กดหอพักทั่วเมืองขอนแก่นได้ที่สามารถพบได้ที่นี่
- เว็บไซต์ : www.NaYoo.co (ไม่มี m)
- Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่
- ยูทูป : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo