การสร้างบ้านในฝันให้กลายเป็นจริง นับเป็นความฝันของใครหลายคน เพราะเราสามารถออกแบบบ้านและเลือกทำเลที่ถูกใจได้ และยังสามารถควบคุมคุณภาพของบ้านได้อีกด้วย แต่การสร้างบ้านก็มีรายละเอียดและขั้นตอนที่เราต้องศึกษาและวางแผนให้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำเลที่ดิน แบบบ้าน จ้างผู้รับเหมาหรือจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน? สำหรับใครที่กำลังจะสร้างบ้าน อาจเจอปัญหาไม่รู้ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

ดังนั้นในบทความนี้น้องน่าอยู่จึงจะพาทุกคนไปดู 7 ขั้นตอนที่ต้องรู้สำหรับคนที่อยากสร้างบ้านเอง เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างบ้านได้ จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลยครับ

7 ขั้นตอนที่ต้องรู้ อยากสร้างบ้านเองต้องทำยังไงบ้าง

1. เตรียมที่ดินให้พร้อม

ในการสร้างบ้าน ก่อนอื่นเลยเราต้องมีที่ดินให้พร้อมก่อน สำหรับใครที่มีที่ดินอยู่แล้วก็เตรียมถมที่ดินให้พร้อมสำหรับการสร้างบ้านรวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมในที่ดินให้น่าอยู่ เช่น ตัดหญ้า ตัดต้นไม้ และตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินควรเป็นชื่อของคนที่จะสร้างบ้าน เพราะจะง่ายต่อการขออนุญาตก่อสร้างและการกู้เงินสร้างบ้าน หากเป็นชื่อของคนอื่นควรทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อย

สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถมที่ดิน สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ ตอบทุกข้อสงสัย ถมที่ดินราคาเท่าไหร่ ได้เลยครับ

สำหรับใครที่ยังไม่มีที่ดิน ให้ลองดูไลฟ์สไตล์ตัวเองว่าเราอยากอยู่บ้านในทำเลไหน เช่น ใครที่ชอบความสะดวกสบาย ไปไหนมาไหนสะดวกก็เลือกที่ดินทำเลในเมืองหรือใกล้ระบบขนส่งสาธารณะแต่ใครที่ชอบความสงบ เรียบง่าย อาจเลือกทำเลที่เลี่ยงเมืองออกมาหน่อยครับ

2. คำนวณค่าใช้จ่ายให้ดี

เมื่อมีที่ดินพร้อมแล้วให้เราคำนวณค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านให้ดี เพราะการทำบ้านต้องใช้เงินก้อนใหญ่ การคำนวณค่าใช้จ่ายจะช่วยให้เรารู้ว่าเรามีงบสร้างบ้านเท่าไหร่  เพื่อให้เราประเมินราคาบ้านที่จะสร้างให้เหมาะสมกับรายได้และรายจ่ายของตัวเองได้ น้องน่าอยู่แนะนำวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายในการทำบ้านง่าย ๆ ว่า การผ่อนเงินกู้สร้างบ้านไม่ควรเกิน 50% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อให้ธนาคารอนุมัติได้ง่ายขึ้นและภาระในการผ่อนของเราไม่หนักเกินไปนั่นเอง

3. จ้างผู้รับเหมา Vs จ้างบริษัทรับสร้างบ้าน

ปัญหายอดฮิตต่อมาสำหรับคนสร้างบ้านก็คือเลือกไม่ถูกว่าจะจ้างผู้รับเหมาหรือจ้างบริษัทรับสร้างบ้านดี ซึ่งทั้งสองแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนี้ครับ

จ้างผู้รับเหมา

การจ้างผู้รับเหมา เราต้องจ้างสถาปนิก และวิศวกรเพิ่ม เพื่อทำการออกแบบบ้านในฝันของเราออกมาให้เป็นจริง จากนั้นจึงนำแบบที่ได้ไปให้ผู้รับเหมา ทำการประเมินราคาก่อนก่อสร้าง

จ้างบริษัทรับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้านจะเป็นผู้ให้บริการออกแบบและก่อสร้างไปในตัว โดยส่วนใหญ่บริษัทรับสร้างบ้านจะมีแบบบ้านให้เราเลือก และเราอาจสามารถปรับเปลี่ยนแบบและวัสดุได้เล็กน้อย รวมถึงอาจมีโปรโมชั่นและของแถมในบางบริษัทด้วย

ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียระหว่างการจ้างผู้รับเหมาและการจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน

ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียระหว่างการจ้างผู้รับเหมาและการจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน

4. หาแบบบ้านที่ถูกใจ

เมื่อเราเลือกได้แล้วว่าจะจ้างผู้รับเหมาหรือจ้างบริษัทรับสร้างบ้านดี ขั้นตอนต่อมาคือการหาแบบบ้านที่ถูกใจ ว่าแบบบ้านไหนที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของเราและยังอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ บางคนอาจมีแบบบ้านในฝันไว้อยู่แล้ว อาจจ้างสถาปนิกมาเขียนแบบในบ้านในฝันของเราให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หรือใครที่ยังไม่เจอแบบบ้านที่ถูกใจ อาจลองหาแบบบ้านในอินเตอร์เน็ตหรือปรึกษาบริษัทรับสร้างบ้านก่อนก็ได้ครับ

ใครที่กำลังหาบริษัทรับสร้างบ้าน สามารถเข้ามาเลือกดูที่เว็บไซต์น่าอยู่ได้ครับ สำหรับคนที่มีแบบบ้านที่ชอบอยู่แล้ว สามารถเลือกค้นหาบริษัทที่รับสร้างบ้านตามแบบบ้านได้ โดยสามารถกดเลือกกรองดูราคาและสไตล์ที่เราต้องการได้เช่นกัน

สำหรับใครที่ยังไม่มีแบบบ้านในใจ สามารถกดเลือกดูบริษัทรับสร้างบ้านที่เราสนใจ แล้วค่อยไปหาแบบบ้านที่ถูกใจพร้อมมีราคาอยู่ในงบที่เราตั้งไว้ก็ได้เช่นกันครับ หวังว่าทุกคนจะเจอบริษัทรับสร้างบ้านที่ถูกใจกันนะครับ

5. ขออนุญาตสร้างบ้าน

เมื่อเราได้แบบบ้านที่ถูกใจแล้ว สิ่งสำคัญต่อมา คือ การขออนุญาตสร้างบ้าน เราต้องมีการขออนุญาตกับสำนักงานเขตในพื้นที่นั้น ๆ ก่อนก่อสร้าง รวมถึงกรณีต่อเติมบ้านต้องขออนุญาตด้วยเช่นกัน แต่ก็มีบางกรณีที่การก่อสร้างต่อเติมบ้านไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 กรณี ดังนี้

  1. การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของพื้นบ้านในชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร
  2. การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร
  3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารด้วยวัสดุที่มีขนาด จำนวน และชนิดของวัสดุที่เหมือนของเดิม
  4. การเปลี่ยนแปลงส่วนต่อเติมที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไป และการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องไม่สร้างน้ำหนักเพิ่มเติมให้กับโครงสร้างเกิน 10%
  5. การเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร และไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างเดิม

นอกเหนือจากกรณีข้างต้นต้องทำการขออนุญาตนะครับ สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขออนุญาตก่อสร้าง สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านบนที่ดินเดิม ได้เลยครับ

6. กู้เงินสร้างบ้าน

ขั้นตอนต่อมา คือ การกู้เงินสร้างบ้าน น้องน่าอยู่แนะนำว่าควรพิจารณาสถาบันการเงินที่จะกู้ให้ดี โดยเปรียบเทียบดูจากดอกเบี้ย, วงเงิน และระยะเวลาการกู้ ว่าสถาบันการเงินไหนตอบโจทย์เรามากที่สุด นอกจากนี้ควรเคลียร์หนี้ให้หมดและมีรายการเดินบัญชีที่สวยงาม เพื่อช่วยให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อของเราได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ

สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกู้เงินสร้างบ้าน สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ 5 ขั้นตอนกู้เงินปลูกบ้าน บนที่ดินของตัวเอง ได้เลยครับ

7. เริ่มสร้างบ้าน

สุดท้ายก็เข้าสู่ขั้นตอนการเริ่มสร้างบ้านกันแล้ว น้องน่าอยู่แนะนำว่าควรเลือกผู้รับเหมาและบริษัทรับสร้างบ้านที่มีความน่าเชื่อถือ หากเกิดปัญหาอะไรระหว่างการก่อสร้าง ควรรีบแจ้งผู้ก่อสร้างให้ทำการแก้ไขทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาวหรือปัญหาใหญ่ที่อาจแก้ไขได้ยากในอนาคตนั่นเองครับ

บทสรุป

จบกันไปแล้วกับ7 ขั้นตอนที่ต้องรู้สำหรับคนที่อยากสร้างบ้านเองที่น้องน่าอยู่นำมาฝากทุกคนกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังสร้างบ้านหรือรีโนเวทบ้านจะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการในการทำบ้านกันได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านในขอนแก่นหรือจังหวัดอื่น ๆ สามารถเลือกค้นหารวมบริษัทรับสร้างบ้านได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ โดยสามารถเลือกค้นหาได้ตามชื่อบริษัท แบบบ้านที่เราต้องการตามงบประมาณและสไตล์ที่ถูกใจได้เลยครับ

บทความแนะนำ

อ้างอิง

กดติดตาม "น่าอยู่" เพื่อ หาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดิน รวมถึงหาเช่า/หอพักทั่วประเทศเพิ่มเติมได้ที่บนเว็บไซต์