คู่รักหลายคู่อาจมีความฝันในการมีบ้านร่วมกัน เพื่อใช้เป็นเรือนหอหรือสร้างครอบครัวด้วยกันในอนาคต แต่การจะซื้อบ้านสักหลัง ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบ้านเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและมีความเสี่ยง ดังนั้น การกู้ร่วมซื้อบ้านจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และอาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้นในบทความนี้น้องน่าอยู่จะพาทุกคนไปดู 5 เรื่องที่ต้องเตรียมก่อนกู้ร่วมแต่งงานกัน เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้เตรียมตัวสำหรับการกู้ร่วมซื้อบ้านไว้ให้ดี ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูรายละเอียดกันเลยครับ
1. เลือกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมในการกู้ร่วมแต่งงาน
อย่างแรกที่ควรตัดสินใจร่วมกัน คือ การเลือกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมในการกู้ร่วมแต่งงาน แนะนำว่าควรพูดคุยและตกลงกับคนรักให้เรียบร้อยว่าต้องการที่อยู่อาศัยแบบไหน เพื่อจะได้ลองคำนวณเงินกู้บ้านและวางแผนการเงินให้ดี โดยรูปแบบที่อยู่อาศัยหลัก ๆ มีดังนี้
- บ้านเดี่ยว เหมาะสำหรับผู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนที่มองถึงการขยายครอบครัวขนาดใหญ่ในอนาคต สามารถอยู่อาศัยร่วมกันได้ 4-5 คน สบาย ๆ แถมยังมีพื้นที่ส่วนตัวให้แก่สมาชิกในครอบครัว รวมถึงสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
- ทาวน์โฮม เหมาะสำหรับผู้กู้ร่วมซื้อบ้านร่วมกับแฟนที่ตั้งใจจะมีครอบครัวเล็ก ๆ อยู่อาศัยแค่พ่อ แม่ ลูก ทาวน์โฮมมีขนาดพื้นที่ที่กำลังเหมาะสม ไม่ใหญ่จนเกินไป
- คอนโด เหมาะสำหรับผู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟน ที่ตั้งใจว่าจะไม่มีลูก ต้องการพื้นที่ขนาดกะทัดรัด ดูแลรักษาง่าย แถมคอนโดมักที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง และรายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันอีกด้วย
2. มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขในการกู้ร่วมแต่งงาน
สิ่งต่อมาควรตรวจสอบให้เรียบร้อยว่า เราและคนรักมีคุณสมบัติผู้กู้ร่วมตรงกับเงื่อนไขกู้ร่วมแต่งงานที่ธนาคารกำหนดหรือไม่ โดยการกู้บ้านร่วมกับแฟน สามารถทำได้ทั้งกรณีจดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรส เพียงแค่ต้องมีหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ รวมถึงคู่รัก LQBTQIAN+ ก็สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับคู่รัก LQBTQIAN+ มากมาย สามารถศึกษารายละเอียด สินเชื่อกู้ร่วม LQBTQIAN+ ได้เลยครับ
สำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขการกู้ร่วมซื้อบ้าน สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ อยากกู้บ้านร่วมกับแฟนต้องอ่าน! คำนวณเงินกู้บ้าน มีเงื่อนไขยังไง ได้เลยครับ
3. คำนวณเงินกู้บ้าน สำหรับกู้ร่วมแต่งงาน
เมื่อพูดคุยตกลงกับคนรักได้แล้วว่าอยากได้ที่อยู่อาศัยแบบไหนและตรวจสอบคุณสมบัติผู้กู้ร่วมเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ต้องลองคำนวณเงินกู้บ้าน เพื่อจะได้รู้ความสามารถในการกู้ของตัวเอง และมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์นั่นเอง
นอกจากนี้การคำนวณเงินกู้บ้านยังช่วยให้เราวางแผนการเงินได้ดี เพราะเราจะสามารถรู้ได้คร่าว ๆ ว่าบ้านที่เราต้องการซื้อ เราต้องจ่ายค่าผ่อนชำระต่อเดือนเท่าไหร่ เราควรมีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนกี่บาท ซึ่งปัจจุบันเราไม่ต้องปวดหัวนั่งกดเครื่องคิดเลขอีกต่อไป ทุกคนสามารถลองคำนวณเงินกู้บ้าน เพื่อกู้ร่วมแต่งงานได้ในเว็บไซต์น่าอยู่เลยครับ
สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการคำนวณเงินกู้บ้านแบบละเอียด สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ คำนวณเงินกู้บ้านง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์น่าอยู่ ด้วยโปรแกรมคำนวณสินเชื่อ ได้เลยครับ
4. มีรายได้ชัดเจนและมีประวัติชำระหนี้ที่ดี
เมื่อลองคำนวณเงินกู้บ้านและมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์กับรายได้และไลฟ์สไตล์ของเราแล้ว ต่อมาเราต้องมีประวัติการเงินที่ดี เพื่อเตรียมยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยร่วมกันกับแฟน น้องน่าอยู่แนะนำให้มีเงินเข้าบัญชีสม่ำเสมอ เพื่อให้ธนาคารเห็นว่าเรามีรายได้ที่ชัดเจน และแสดงถึงความสามารถในการผ่อนบ้านของเรา รวมถึงดูแลประวัติชำระหนี้ให้ดี พยายามปิดหนี้ให้เหลือน้อยที่สุดและชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อสร้างประวัติเครดิตบูโรที่ดี ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการพิจารณาการกู้ร่วมแต่งงานได้ครับ
สำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครดิตบูโร สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ ติดเครดิตบูโรก็ซื้อบ้านได้ จริงมั้ย? ได้เลยครับ
5. กู้ร่วมแต่งงาน หากเลิกรากันจะทำอย่างไร
ปัญหานี้มักเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในคู่รักที่มีการเลิกรากันหลังกู้ร่วมแต่งงาน บางคู่อาจตกลงกันไม่ได้จนถึงมีการฟ้องร้องกัน ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้ตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนกู้ร่วมแต่งงาน เพื่อป้องกันปัญหาภายหลังนะครับ โดยแนวทางแก้ไขในกรณีที่กู้ร่วมแล้วเลิกรากัน สามารถทำได้ 3 แนวทาง ดังนี้
- ถอนชื่ออดีตสามี-ภรรยาที่กู้ร่วมออกจากสัญญากู้ร่วมซื้อบ้าน โดยทั้งคู่ตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ได้ถือกรรมสิทธิ์ต่อ และเมื่อจดทะเบียนหย่ากันเรียบร้อยแล้วให้นำเอกสารการหย่าไปยื่นเรื่องขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมกับธนาคาร ซึ่งธนาคารจะทำการเปลี่ยนแปลงวงเงินกู้และรายละเอียดสัญญาใหม่ให้แก่ผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ต่อนั่นเอง
- รีไฟแนนซ์สินเชื่อจากผู้กู้ร่วมซื้อบ้านให้เป็นผู้กู้เดี่ยว ย้ายหนี้บ้านจากธนาคารเดิมที่เราผ่อนชำระอยู่ไปธนาคารอื่น ซึ่งสามารถทำเรื่องกับธนาคารใหม่ได้ว่าจะขอถือกรรมสิทธิ์คนเดียว
- ขายทรัพย์สินและแบ่งเงินกันคนละครึ่งจากการกู้ร่วมซื้อบ้าน ทั้งสองตกลงแล้วว่าไม่มีใครอยากถือกรรมสิทธิ์บ้านต่อ จึงทำการขายทิ้งเพื่อตัดปัญหาได้โดยในการขายบ้านนั้นก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ ด้วย
สำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกู้ร่วมแต่งงาน สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ อยากกู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟนจำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสหรือไม่? ได้เลยครับ
บทสรุป
จบกันไปแล้วกับพาทุกคนไปไปคำนวณเงินกู้บ้าน พร้อมไปดู 5 เรื่องที่ต้องเตรียมก่อนกู้ร่วมแต่งงานที่น้องน่าอยู่นำมาฝากทุกคนกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังวางแผนกู้ร่วมแต่งงานจะมีความเข้าใจและนำข้อมูลไปเป็นแนวทางกันได้นะครับ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ทุกคนอย่าลืมติดต่อสอบถามธนาคารโดยตรงก่อนทำการกู้บ้านกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อบ้านเดี่ยวและคอนโดอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชมโครงการบ้านใหม่พร้อมอยู่ และโครงการคอนโดได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายบ้านเดี่ยว โครงการบ้านจัดสรรและคอนโด
บทความแนะนำ
- รวมวิธีเช็คเครดิตบูโร ง่ายและสะดวกสุด ๆ
- รวมเทคนิคผ่อนบ้านอย่างไรให้”เสียดอกเบี้ยน้อย”
- สินเชื่อโฉนดที่ดินคืออะไร ข้อควรรู้ก่อนยื่นกู้
- อาชีพอิสระต้องอ่าน! คำนวณเงินกู้บ้าน เงินเดือนเท่าไหร่กู้ได้
อ้างอิง
ติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อไปหาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดินและหาเช่า/ กดหอพักทั่วเมืองขอนแก่นได้ที่สามารถพบได้ที่นี่
- เว็บไซต์ : www.NaYoo.co (ไม่มี m)
- Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่
- ยูทูป : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo